วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

“ซันสวีท” มุ่งหวังให้เกษตรกรไทยสู่สมาร์ทฟาร์ม 4.0 ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ลดต้นทุน นำตลาดไทยสู่สากล

Social Share

“ซันสวีท” จัดงานสมาร์ทฟาร์ม 4.0 มุ่งหวังให้เกษตรกรไทย นำเทคโนโลยีทันสมัยมาปรับกลยุทธ ลดต้นทุน ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ แก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด และยกระดับคุณภาพข้าวโพดหวานของไทยสู่สากล

ช่วงเช้าวันที่ (15 มิถุนายน 2561) นายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานภายใต้แนวคิด “เกษตรยุคใหม่ ยกระดับข้าวโพดหวานไทยสู่สากล” ครั้งที่ 3 โดยมี นายองอาจ กิตตคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) และ นางอัมพันธ์ สุริยัง ผู้จัดการฝ่ายการผลิต บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) นำคณะเจ้าหน้าที่ของบริษัทซันสวีท จำกัด (มหาชน) และบริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เข้าให้การต้อนรับ ที่ศูนย์การเรียนรู้เคซีฟาร์ม บริษัท ซันสวีท จำกัด(มหาชน)

นอกจากนี้ภายในงานยังได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือการพัฒนาระบบสมาร์ทฟาร์ม และฐานข้อมูลการเพาะปลูกข้าวโพดหวาน อุตสาหกรรม ระหว่างบริษัทซันสวีท จำกัด (มหาชน) กับ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) พร้อมกับการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ มาสาธิตให้กับเกษตรกรที่เดินทางเข้ามาร่วมงานมากกว่า 500 คน ภายในงานได้ชมด้วย ทั้งการบินโดรนเพื่อการเกษตร การบริหารจัดการระบบน้ำ การตรวจวัดความชื้นภายในดิน เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้และนำไปเป็นแนวทางในการปรับใช้ในอุตสาหกรรมของตนเอง

ด้านนายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เคซีฟาร์ม ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อ 2559 โดยนำระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติ, การใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าปริมาณความชื้นในดิน, การใช้โดรนในการให้ยาฆ่าแมลง, การติดตั้งสถานีตรวจวัดสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ ร่วมกับกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน ในการนำนวัตกรรมการวิเคราะห์และแจ้งเตือน การเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชโดยใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัดปริมาณแมลง และระบบการให้ปุ๋ยอัตโนมัติผ่านเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าปริมาณแร่ธาตุในดิน มาใช้ในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น

โดยเล็งเห็นว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถจัดนำมาพัฒนาเกษตรกรไทยให้ทันสมัย เป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ที่สามารถผลิตสินค้าให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และนำผลผลิตของไทยมุ่งสู่ระดับสากล ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จนนำมาสู่การการสร้างศูนย์เรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีในครั้งนี้

ในปี 2560 ที่ผ่านมา ผลประกอบการของบริษัทฯ อยู่ที่ประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยคาดว่าในปีนี้จะมีผลประกอบการดีขึ้นประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากทางตลาดของประเทศฟิลิปปินส อินโดนีเซีย และตลาดฝั่งยุโรป กลับมาสั่งซื้อมากขึ้น และทางญี่ปุ่นก็เริ่มที่จะปรับการสั่งออร์เดอร์จากเดิมที่เคยสั่งจากประเทศจีน หันมาสั่งออร์เดอร์จากประเทศไทยมากขึ้นเช่นกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ สนับสนุนชาวสวนหอมหัวใหญ่ ทดลองไวรัส NPV กำจัดหนอนกระทู้หอม ทดแทนสารเคมี (มีคลิป)
เกษตรเชียงใหม่ ชวน “ชม ชิม ช็อป สตรอว์เบอร์รี่สะเมิง” พร้อมเตรียมเปิดเทศกาลสตรอว์เบอร์รี่ 6 – 8 ก.พ. นี้ (มีคลิป)
ดีแทคจับมือพันธมิตรรุกภาคเกษตร เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
ครอบครัวหัวใจเกษตร Smart Farmer ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(มีคลิป) นศ.ม.แม่โจ้ทิ้งปริญญาตรี หันมาร่วมกลุ่ม Young Smart Farmer ขายผ่านออนไลน์จนธุรกิจปัง สินค้าไม่พอส่งขาย
(มีคลิป) เชียงใหม่ เปิดงานเกษตรอินทรีย์ วิถีล้านนา อย่างยิ่งใหญ่ เอาใจคนรักพืชผักเกษตรอินทรีย์