วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

ทำเกษตรไม่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ไหน แค่มีใจรักเหมือนยุวเกษตรกร 1 ใน 9 ของระดับประทศ จากพื้นฐานมาจากโครงการอาหารกลางวัน

Social Share

ทำเกษตรไม่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ไหน แค่มีใจรักเหมือนยุวเกษตรกร 1 ใน 9 ของระดับประทศ จากพื้นฐานมาจากโครงการอาหารกลางวัน

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะหน่วยงานราชการในพื้นที่ นำโดย นายอรุณ ศรีใส นายอำเภอดอยหล่อให้การต้อนรับคณะกรรมการในการประกวดสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ ปี 2561 ณ โรงเรียนสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์ เทคโนโลยี”

จากคำขวัญวันเด็กปี 2561 โดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ให้ไว้เป็นแนวทางการปฎิบัติเพื่อประสงค์เพื่อให้เด็กทั่วประเทศทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้รู้ถึงความสำคัญของตน เกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ที่มีต่อตนเองและสังคม มีความยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

ทางกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทเยาวชนชาวไทย ในการพัฒนาประเทศเพราะเด็กวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าและจะกลายเป็นแรง เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงนับว่าเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเริ่มจากโรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ

ปัจจุบันงานยุวเกษตรกรที่จังหวัดเชียงใหม่ มีถึง 125 กลุ่ม แบ่งเป็นในระบบการศึกษา 123 กลุ่ม นอกระบบการศึกษา 1 กลุ่ม และสุดท้ายระบบอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้อีก 1 กลุ่ม จำนวนสมาชิกทั้งหมด 2,500 คน

ดังนั้นการทำเกษตร การเรียนรู้เกษตร ไม่ได้ปิดกั้นความคิดไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ การทำเกษตรก็สามารถที่จะทำได้ ดังตัวอย่างยุวเกษตรกร ดีเด่น น.ส. จิตนำไพร ไพรบรรเจิด ที่เป็นตัวอย่างเด็กดีเด็กเก่ง ที่สามารถดำรงชีวิตด้วยเจตนคติมุ่งมั่นในการเรียน และการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ ด้วยพื้นฐานทางภูมิสังคม ครอบครัวที่เป็นชาติพันธุ์ ประกอบอาชีพเกษตร บนที่สูงถือเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร บนยอดดอยที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่ที่รู้จักกันดีคือดอยอินทนนท์ ซึ่งครอบครัวและชุมชนนั้นประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ภายใต้โครงการหลวง ซึ่งผลิตตามระบบ GAP อยู่แล้ว

พืชที่ปลูกได้แก่ พืชผักเมืองหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเขือเทศที่ประสบปัญหาโรคอย่างโรคโคนเน่า โรคเหี่ยว ที่ทำให้ผลผลิตเสียหาย จึงได้นำความรู้ด้านการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย โดยรับการถ่ายทอดจากสำนักงานเกษตรอำเภอดอยหล่อ ปฎิบัติในแปลงที่โรงเรียนสันติสุข โดยและรับการสนับสนุนจาก นายณรงค์ศักดิ์ จำรูญหิน ผู้อำนวยการฯ ในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

“เห็นว่าใช้ได้ผลดี ก่อเกิดรายได้ในรูปแบบสหกรณ์ ไม่เป็นพิษ หรือตกค้างในร่างกาย รวมถึงสิ่งแวดล้อม เป็นการลดต้นทุนการผลิต จึงตั้งใจขยาย สู่ครอบครัว และชุมชน โดยใช้กระบวนการกลุ่มที่ได้เรียนรู้จากกลุ่มยุวเกษตรกรจนทำให้ชุมชนเกิดการยอมรับในเทคโนโลยี นำไปใช้ในชุมชน และยังได้รับรับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในการใช้สารชีวภัณฑ์ ให้กับเกษตรกรครอบครัวอื่นๆ ในชุมชนและประเทศชาติทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนเป็น 1 ใน 9 กลุ่มระดับประเทศและเป็นตัวอย่างเป็นแรงบันดาลใจแก่เยาวชนในยุคไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ สนับสนุนชาวสวนหอมหัวใหญ่ ทดลองไวรัส NPV กำจัดหนอนกระทู้หอม ทดแทนสารเคมี (มีคลิป)
เกษตรเชียงใหม่ ชวน “ชม ชิม ช็อป สตรอว์เบอร์รี่สะเมิง” พร้อมเตรียมเปิดเทศกาลสตรอว์เบอร์รี่ 6 – 8 ก.พ. นี้ (มีคลิป)
ดีแทคจับมือพันธมิตรรุกภาคเกษตร เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
ครอบครัวหัวใจเกษตร Smart Farmer ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(มีคลิป) นศ.ม.แม่โจ้ทิ้งปริญญาตรี หันมาร่วมกลุ่ม Young Smart Farmer ขายผ่านออนไลน์จนธุรกิจปัง สินค้าไม่พอส่งขาย
(มีคลิป) เชียงใหม่ เปิดงานเกษตรอินทรีย์ วิถีล้านนา อย่างยิ่งใหญ่ เอาใจคนรักพืชผักเกษตรอินทรีย์