วันอาทิตย์, 19 พฤษภาคม 2567

ปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า แก้หมอกควันที่แม่ฮ่องสอน

Social Share

ปลัดกระทรวงทรัพย์ฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดับไฟป่า การแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควันจะต้องบูรณาการทุกภาคส่วนและประชาชน

วันที่ 24 เมษายน 2566 นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินทางลงพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัด โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดในพื้นที่ให้การต้อนรับ

นายสุริยา คูสกุลรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รายงานการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ผ่านมาโดยบูรณาการระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ออกลาดตระเวนป้องกันและดับไฟป่าสร้างความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือกับชุมชน และจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการร่วมกับชุมชน พร้อมกันนี้ได้ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุกแบบเคาะประตูบ้าน สำหรับจุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 23 เมษายน 2566 จำนวน 11,190 จุด อยู่ลำดับที่ 2 ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ สูงสุดที่อำเภอแม่สะเรียง จำนวน 2,965 จุด โดยเกิดขึ้นสูงสุดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 6,220 จุด

โดยมีพื้นที่ถูกไฟเผา จำนวน 443,550 ไร่ อยู่ลำดับที่ 4 ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 48.1 ของเป้าหมายปี 66 ไม่เกิน 922,411 ไร่ สำหรับคุณภาพอากาศประจำวันที่ 24 เมษายน 2566 ค่า PM2.5 สถานีอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เท่ากับ 38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง) ค่า PM2.5 สถานีอำเภอแม่สะเรียง เท่ากับ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลต่อสุขภาพ) ค่า PM2.5 สถานีอำเภอปาย เท่ากับ 56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศโดยรวมอยู่ในระดับเริ่มมีผลต่อสุขภาพ)

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันจะต้องมีการบูรณาการทุกภาคส่วนราชการ ท้องถิ่น และประชาชน แบ่งมอบหน้าที่การปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน เตรียมการไว้ตั้งแต่ต้นก่อนถึงฤดูการไฟป่าหมอกควันทั้งเรื่องงบประมาณบุคคลากร การพูดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้านถือเป็นสิ่งสำคัญในความร่วมมือที่จะแก้ปัญหา จะต้องมีการออกลาดตระเวรร่วมกันไม่ให้มีการบุกรุกป่า ไม่ให้มีการเผ่าป่า เมื่อได้รับความร่วมมือกับชาวบ้าน ชุมชน ทุกอย่างก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ ส่วนการเข้าไปดับไฟป่าพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นป่าเขาสูงชัน หากพบว่าพื้นที่มีความเสี่ยงสูงจะต้องระมัดระวังเรื่องอัตรายให้มากที่สุด

ภายหลังเข้าประชุมรับฟังการปฏิบัติงานจากหน่วยงานในพื้นที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน การดำเนินงานตามโครงการ คทช. และงานด้านอื่น ๆ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการกิจกรรมของชุมชนและมอบสิ่งของถุงยังชีพให้กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ หน่วยดับไฟป่า เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

เรื่องมาใหม่