วันจันทร์, 16 กันยายน 2567

เกษตรกรรุ่นใหม่ 4.0 เงินเดือนเกิดจาก ผัก ไข่ปลา ดอกเบี้ยไตรมาศเกิดจากกบ แถมปันผลรายปีเกิดจากไก่ชนพันธุ์ดี

Social Share

เกษตรกรรุ่นใหม่ 4.0 เงินเดือนเกิดจาก ผัก ไข่ปลา ดอกเบี้ยไตรมาศเกิดจากกบ แถมปันผลรายปีเกิดจากไก่ชนพันธุ์ดี ที่แม่ริม เชียงใหม่

ประโยคที่ว่า “การมีชีวิตอยู่ คือ คุณค่าของชีวิตที่แท้จริง” หลายๆท่านอาจเคยได้ยินได้ฟังว่าคนเราจะรู้สึกถึงพ่อ แม่หรือผู้อื่นก็มักจะเกิดขึ้นในนาที หรือช่วงเวลาที่เรียกว่าเสี้ยวชีวิตของลมหายใจดังนายนายอชิรา เข็มทองที่เคยใช้ชีวิตแบบวัยรุ่นทั่วไป ที่มีต้นทุนชีวิตที่ค่อนข้างพร้อมกว่าคนอื่นๆ

แต่วันหนึ่งได้ประสบอุบัติเหตุ ทางท้องถนน จนทำให้ต้องรักษาตัวในห้อง ICU เกือบเดือนในช่วงเวลานั้นเองที่ความเป็นตายเท่ากัน เค้าเลยสัญญาสัญญากับตัวเองว่า ถ้าเค้ารอดไปได้จะทำอะไรเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชน และประเทศชาติ จึงได้นึกถึงอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นอาชีพส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศแต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านการผลิตและการตลาดที่ขาดการวางแผน

จึงได้ทำฟาร์มเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ขึ้นชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของประเทศให้เกิดการพัฒนาและยืนอยู่ได้พัฒนาได้บนความยั่งยืนพอเพียง โดยเน้นการรวมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จากเดิมที่ทำการผลิต แปรรูป แต่ไม่สามารถหาตลาดและจำหน่ายได้ จึงรวมเครือข่ายนักธุรกิจ และองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีจุดประสงค์และจุดยืนเดียวกันมาช่วยกลุ่มเกษตรกรบ้านาหืก ตำบลสะลวง จังหวัดเชียงใหม่

ทั้งวางแผนการผลิต กลยุทธการตลาด ในโลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดน รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากผู้นำชุมชนและหน่วยงานทางภาครัฐอย่างสำนักงานเกษตรอำเภอแม่ริม โดยนางสาวชฎารัตน์ เมฆเจริญเกษตรอำเภอแม่ริม และบุคคลากร จนกลายเป็น young smart farmer อำเภอแม่ริม

โดยเปลี่ยนพื้นที่ 3 ไร่ ทำเป็นฟาร์มตัวอย่างในชุมชน ที่มีรายได้จากไข่ไก่เป็นรายได้รายวัน รายได้รายเดือนมาจากกล้วย และเสาวรส รายได้ราย 3 เดือนมากจากการเลี้ยงกบ รายได้ 6 เดือนมาจากการเลี้ยงปลา และยังคิดต่างโดยมีการเลี้ยงไก่ชนที่ชนะหลายสนามเพื่อเป็นพ่อพันธุ์และผสมพันธุ์ขายเพื่อเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วยและอย่างเป็นไปอย่างเกื้อกูลกัน ลดการใช้สารเคมี และนำความรู้จากการอบรม สร้างเครือข่ายจาก young smart farmer แต่ละแห่งในจังหวัดเชียงใหม่มาปรับใช้พัฒนาเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรในชุมชนนาหืก ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวถึง young smart farmer เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมการเกษตรที่พัฒนาด้านบุคคลทางที่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ที่มีอายุ 17-45 ปี ด้านเกษตรกรที่มีจำนวนเครือข่าย 58,500 กว่าราย ส่วนจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีจำนวน180 กว่าราย ที่ถือว่าเป็นอนาคตเป็นเกษตรกรที่มีอายุน้อย คนรุ่นใหม่มีความรู้มาก และสามารถใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการผลิตอย่างมีเหตุผล

เป็นเกษตรกรที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการไร่นา หรือผลผลิต สามารถต่อยอดให้เกษตรกรคนอื่นได้ ลดการพึ่งพาจากทางภาครัฐ ดังตัวอย่างนาย นายอชิรา เข็มทอง เกษตรกร young smart farmer รายนี้ที่ร่วมพัฒนาการเกษตรในอนาคตบนพื้นฐานความพอเพียงต่อไป

เรื่องมาใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ สนับสนุนชาวสวนหอมหัวใหญ่ ทดลองไวรัส NPV กำจัดหนอนกระทู้หอม ทดแทนสารเคมี (มีคลิป)
เกษตรเชียงใหม่ ชวน “ชม ชิม ช็อป สตรอว์เบอร์รี่สะเมิง” พร้อมเตรียมเปิดเทศกาลสตรอว์เบอร์รี่ 6 – 8 ก.พ. นี้ (มีคลิป)
ดีแทคจับมือพันธมิตรรุกภาคเกษตร เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
ครอบครัวหัวใจเกษตร Smart Farmer ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(มีคลิป) นศ.ม.แม่โจ้ทิ้งปริญญาตรี หันมาร่วมกลุ่ม Young Smart Farmer ขายผ่านออนไลน์จนธุรกิจปัง สินค้าไม่พอส่งขาย
(มีคลิป) เชียงใหม่ เปิดงานเกษตรอินทรีย์ วิถีล้านนา อย่างยิ่งใหญ่ เอาใจคนรักพืชผักเกษตรอินทรีย์