วันศุกร์, 17 พฤษภาคม 2567

เรื่มบูรณะสะพานซูตองเป้ ระดมกำลังศรัทธาญาติโยม ทหาร อส. คาดเสร็จทันฤดูกาลท่องเที่ยวหนาวนี้

Social Share

เรื่มบูรณะสะพานซูตองเป้ ระดมกำลังศรัทธาญาติโยม ทหาร อส. คาดเสร็จทันฤดูกาลท่องเที่ยวหนาวนี้

วันที่ 30 กันยายน 2566 บริเวณทุ่งนาสะพานซูตองเป้ คณะศรัทธา ญาติโยม ภิกษุสามเณร ได้ขุดหลุม เทาปูนตอม่อ ปักเสาสะพาน เริ่ม บูรณะซ่อมแซมสะพานซูตองเป้ เป็นวันที่ 3 โดย ได้รับการสนับสนุนกำลังจาก กองร้อยทหารราบที่ 17 ฐานปฏิบัติการบ้านกุงไม้สัก และนายสังคม คัดเชียงแสน นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จัดส่งกำลังอาสารักษาดินแดนที่ 2 กำลังพล 10 นาย เข้าร่วมซ่อมแซมสะพานด้วทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบทุนในการบูรณะซ่อมแซมสะพานซูตองเป้ แลนมาร์กสำคัญของแม่ฮ่องสอน

พระปลัดจิตตพัฒน์ อัคคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดภูสมณาราม เจริญพร ความคืบหน้าการบูรณะสะพานซูตองเป้ ได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 เป็นต้นมา โดยนายชัยวัฒน์ สืบพงษ์เอื้อ กำนันตำบลปางหมู นำคณะศรัทธาญาติโยมในตำบลปางหมู ตำบลห้วยโป่ง และตำบลห้วยผา มาร่วมซ่อมแซม สับไม้ฟาก ฝั่งทางวัดมีการเทเสาตอม่อ ขึ้นเสาไม้ คาน เรียบร้อยแล้ว จะได้ดำเนินการสานไม้ไผ่ต่อหลังจากนี้ไป

โดยที่ผ่านมาทาง วัดภูสมณาราม บ้านกุงไม้สัก ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อร่วมสมทบทุนในการบูรณะซ่อมแซมสะพานซูตองเป้ ซึ่งประสบอุกทกภัยขาดเสียหายไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา โดยมียอดร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อบูรณะซ่อมแซมสะพานซูตองเป้ ยอดผ้าป่าที่ได้ ยอดโอนทั้งหมด 825,065 บาท ยอดต้นผ้าป่าสามัคคี 422,605 บาท รวม 1,247,670 บาท

สะพานซูตองเป้ เป็น “สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย” และเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน “ซูตองเป้” เป็นภาษาไทใหญ่ แปลว่า การอธิษฐานขอความสำเร็จ โดยมีความเชื่อว่า หากเดินมาถึงจุดกึ่งกลางระหว่างสะพาน ให้ตั้งจิตอธิษฐานขอพร แล้วเดินข้ามสะพานไป จะพบกับความสมหวังดังที่อธิษฐานไว้สะพานไม้ซูตองเป้ ตั้งอยู่ที่บ้านกุงไม้สัก อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร สะพานไม้ซูตองเป้แห่งนี้ เป็นสะพานที่เกิดจากความศรัทธา การร่วมแรงร่วมใจของพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านกุงไม้สัก ช่วยกันลงแรงกายและแรงใจ สานพื้นสะพานด้วยไม้ไผ่ให้มีความยาวถึง 500 เมตร (ยาวที่สุดในประเทศไทย) ให้ผ่านที่นาของชาวบ้าน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสวนธรรมภูสมะและหมู่บ้านกุงไม้สัก ให้พระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านที่อยู่อีกฝั่งสามารถเดินข้ามไปมาระหว่างหมู่บ้านได้สะดวกยิ่งขึ้น

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของทุกปี ที่สะพานไม้แห่งนี้จะเต็มไปด้วยชาวบ้านจำนวนมากมาทำบุญตักบาตร เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล เป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ และมีการจัดงานพุทธศิลป์สวดมนต์ข้ามปี เพื่อเสริมสร้างจิตใจให้สงบ และในบริเวณวัดได้มีการจัดตกแต่งด้วยตุงและธงสีหลากหลายสีสันอย่างสวยงาม

Cr. สุกัลยา บัวงาม

เรื่องมาใหม่