วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

วิศวฯ มช. จัดแข่งออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ RDC 2018 ภาคเหนือ ตัดสินตัวแทนส่งแข่งต่อระดับประเทศ

09 มิ.ย. 2018
1230
Social Share

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดแข่งขันออกแบบและสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 (11th Robot Design Contest 2018 : RDC 2018) ระดับภาคเหนือ เพื่อเฟ้นหาตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันต่อระดับประเทศ และนานาชาติ

RDC 2018 รอบคัดเลือกภาคเหนือ จัดขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) โดยการสนับสนุนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่แอร์พอร์ต จัดเแข่งขันภายใต้โจทย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนระดับอุดมศึกษาหรืออาชีวะศึกษา ใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการหุ่นยนต์

รวมถึงระบบอัตโนมัติ อันเป็นการสร้างบุคลากรรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร การแพทย์ การทหาร การบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการวางแผน ออกแบบการทำงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนให้โอกาสเยาวชนในภูมิภาคได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะ ความคิดในเวทีระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยในปีนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 72 คน จาก 14 สถาบัน

ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาวิทยาเขตภาคพายัพ พร้อมด้วยวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ วิทยาลัยเทคนิคสารภี วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ วิทยาลัยเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งกลุ่มนักศึกษาแต่ละทีมโดยจับฉลากคละกันทุกสถาบัน ตั้งชื่อทีมภายใต้ Theme “ของกิ๋นบ้านเฮา”

การแข่งขันดำเนินขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 28 พฤษภาคม 2561 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ผลปรากฏว่า

รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม“น้ำพริกแดง” ประกอบด้วย นายบัญญัติ ฝักฝ่ายธรรม(มช.) นายณัฐกรณ์ พิสปิงคำ (มทร.ล้านนา ลำปาง) นายณัฐพงค์ ศรีบรรเทา (มทร.ล้านนา พิษณุโลก) นายศุภกิจ ติดรักษ์ (วิทยาลัยเชียงราย) นายเทพพิทักษ์ ชุตินทราศรี (วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) นายสมบูรณ์ แซ่ฟ้า (วิทยาลัยเทคนิคสารภี)

รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม “แกงอ่อม” ประกอบด้วย นางสาวอริศรา สุรีย์ (มช.) นายวีรยุทธ บัวเพชร (มทร.ล้านนา) นายณัฐพงษ์ น้อยเครือ (มทร.ล้านนา พิษณุโลก) นายวีรวัฒน์ เข็มทิศ (วิทยาลัยเชียงราย) นายธนภณ ธนชาติไพศาล (วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) นายภูษิต อัมพรสว่าง (วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา)

รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ “แกงแค” ประกอบด้วย นายนรเทพ เมืองอุดม (มช.) นายจตุรพัฒน์ จิตเทพ (มทร.ล้านนา ลำปาง) นายธรรมรัตน์ ผมขาว (ม.นอร์ท-เชียงใหม่) นายปัณณวัฒน์ ทะนันไชย (ม.นเรศวร) นายสิทธิศักดิ์ ตนเล็ก (วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา) และนายเอกชัย เขียนสาร (ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์) ทั้ง 3 ทีมได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันต่อระดับประเทศในวันที่ 4 – 23 มิถุนายน 2561 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะได้ผู้ชนะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อระดับนานาชาติในวันที่ 6-18 สิงหาคม 2561 ณ ประเทศญี่ปุ่นต่อไป

ข้อมูลภาพ-ข่าว : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ไมโครชิพ ช่วยนักพัฒนาเร่งการออกแบบโหนด IoT ระยะไกล ด้วยผลิตภัณฑ์ตระกูล LoRa(R) System-in-Package ที่ใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
Infineon เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับ TPM 2.0 เพิ่มความปลอดภัยการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์
“MI SHOP by แม่วังสื่อสาร” เปิดแล้ววันนี้ ที่เซ็นทรัล แอร์พอร์ต
“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” ร่วมโชว์นวัตกรรมวิศวกรรม เพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย
วสท. เปิดงาน ‘วิศวกรรมแห่งชาติ 2018’ อย่างยิ่งใหญ่
ไซปรัสจับมือ VeChain Foundation และ CREAM พัฒนาฟินเทคและบล็อกเชนในไซปรัส