วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

Hyperion เปิดตัวระบบทำแผนที่บนบล็อกเชน มุ่งสนับสนุนการเปิดกว้างและกระจายศูนย์

15 ส.ค. 2018
1006
Social Share

สิงคโปร์ (6 ส.ค. 2561) Hyperion ระบบทำแผนที่บนบล็อกเชนแบบเปิด Hyperion Digital Location Right (HDLR) ได้ประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีการทำแผนที่อย่างเป็นทางการ โดย Hyperion ตั้งเป้าที่จะพลิกโฉมระบบการทำแผนที่ในปัจจุบัน ด้วยการมอบโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับแผนที่ทั่วโลกที่ควบคุมได้เองและกระจายศูนย์อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจะเปิดให้ผู้ใช้งานจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้าถึง แก้ไข หรือใช้งานได้ตามความต้องการ ทั้งยังมีส่วนสนับสนุนการแบ่งปันมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกด้วย

ดร. ไอแซค จาง ผู้ก่อตั้ง Hyperion กล่าวว่า “ในยุคสมาร์ทโฟนครองเมือง ทุกคนมีสิทธิใช้งานแผนที่ซึ่งมีรายละเอียดสูงได้ด้วยอุปกรณ์ในมือของตัวเอง อย่างไรก็ตาม วิธีการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่เหล่านี้แทบไม่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว เนื่องจากเรายังคงพึ่งพาระบบข้อมูลแบบ top-down ที่ควบคุมผ่านศูนย์กลาง ซึ่งในยุคที่ข้อมูลถูกกระจายศูนย์มากขึ้น ทั้งยังขับเคลื่อนด้วยชุมชน เราจึงเชื่อว่าวิธีการข้างต้นเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไปแล้ว

ด้วยเหตุนี้ Hyperion จึงหวังเข้ามาพลิกโฉมวงการ ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมโครงสร้างพื้นฐานของระบบแผนที่จากเดิมที่เป็นแบบควบคุมจากศูนย์กลางไปสู่การกระจายศูนย์กลาง ด้วยโมเดลที่เป็นประชาธิปไตยและกระจายศูนย์ ที่จะใช้จุดแข็งของเทคโนโลยีบล็อกเชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

ระบบนิเวศของ Hyperion ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาหลักๆ ในการพัฒนาเทคโนโลยีแผนที่ 1.ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่ให้ทันสมัยและมีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วนโดยอาศัยโมเดลจากบนสู่ล่าง หรือ top-down นั้น มีราคาที่ค่อนข้างสูงและไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้บริษัทผู้ให้บริการแผนที่หรือรัฐบาลต้องส่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากไปลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล

2.รูปแบบของโมเดลในปัจจุบันนั้นยากต่อการยืนยันว่า ตัวแผนที่มีความถูกต้องแม่นยำและอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอดเวลาหรือไม่ อีกทั้งยังต้องมีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการบำรุงรักษาส่วนต่าง ๆ ของแผนที่ในเวลาที่แตกต่างกัน และสามคือ โครงสร้างพื้นฐานของแผนที่ในปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในการเข้าถึงหรือใช้งานแผนที่เหล่านี้

Hyperion รับมือกับเรื่องนี้ด้วยการใช้โมเดลสามประสาน ที่เรียกว่า ‘Hyperion Trinity’ ซึ่งประกอบด้วย (1) เทคโนโลยีการจัดทำแผนที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่ (2) แบบจำลองทางเศรษฐกิจในการสร้างแรงบันดาลใจและมอบผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนร่วม และ (3) โครงสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สามารถปกครองตนเองได้

– Crowd-build เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งมอบข้อมูลแผนที่ที่มีคุณภาพจากทั่วโลก พร้อมรับผลตอบแทนจากโครงสร้างระบบแบบกระจายศูนย์บน Hyperion Digital Location Right (HDLR) อย่างเช่น การขุด หรือ HDLR mining ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและบำรุงรักษาแผนที่

– Crowd-share เพื่อสร้างแผนที่ทางเศรษฐกิจแบบกระจายอำนาจที่มีความยั่งยืน โดยค่าบริการแผนที่จะถูกนำมาแจกจ่ายให้กับเจ้าของ HDLR ตามที่ระบุไว้ในสัญญาอัจฉริยะ อาทิ เงินปันผล หรือ HDLR dividend ซึ่งเป็นแบบจำลองทางเศรษฐกิจในการสร้างแรงจูงใจและมอบผลตอบแทนให้กับผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมทั้งหลาย

– Crowd-govern เพื่อบรรลุฉันทามติทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและเศรษฐกิจภายใต้การกำกับดูแลของผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เช่น การออกเสียง หรือ HDLR voting โดยชุมชน Hyperion ทั่วโลกที่ประกอบไปด้วยชุมชนในภูมิภาคหลากหลายระดับที่ปกครองโดยตัวแทนที่ผ่านการยอมรับจากสมาชิกผู้มีส่วนร่วมใน HDLR ของแต่ละภูมิภาค ตลอดจนมีโครงสร้างชุมชนที่สนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศที่สามารถปกครองตนเองได้

ระบบนิเวศของ Hyperion ถูกออกแบบมาให้มีความโปร่งใสและเป็นไปตามฉันทามติ โดยที่ระบบดังกล่าวนี้สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีที่มีองค์ประกอบหลัก 3 ชั้น ได้แก่ Protocol Layer, Service Layer และ Ecosystem Layer

โดยที่ชั้น Protocol Layer จะช่วยเสริมความสามารถของโมเดล Trinity ในสองด้าน ด้วยการทำหน้าที่เป็นเครื่องมือบริหารจัดการเศรษฐกิจและชุมชน บนพื้นฐานของ Hyperion Protocol Network (HPN) ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ความเป็นส่วนตัว และความเป็นเจ้าของข้อมูลที่เป็นธรรมบนแพลตฟอร์ม Hyperion ทั้งนี้ เครือข่าย Hyperion Protocol Network เป็นเครือข่ายระดับโลกของ Hyperion Protocol Nodes ที่มีการติดตั้ง MapChain (Hyperion Blockchain) สัญญาอัจฉริยะ และส่วนจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อถือได้

โดย MapChain ซึ่งได้รับการปรับปรุงด้านข้อมูลตำแหน่งนั้น จะสนับสนุนการติดต่อสื่อสารระหว่างห่วงโซ่เพื่อยกระดับความสามารถในการทำงานร่วมกัน ตลอดจนความสามารถในการต่อสัญญาอัจฉริยะ MapChain ผสานนวัตกรรมที่เราได้คิดค้นขึ้นอย่าง Spatial Consensus Protocol (SCP) เพื่อสร้างฉันทามติให้กับข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งแบบสถิต (แผนที่) และข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งแบบพลวัต (การบอกตำแหน่ง) ในรูปแบบที่ปลอดภัยและตรวจสอบได้ โดย MapChain ใช้ BFT + DPos เป็นอัลกอริทึมฉันทามติสำหรับการสร้างบล็อก เพื่อรองรับบริการแผนที่ที่ปรับขนาดได้ พร้อมวางโครงสร้างการกำกับดูแลผ่านตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้กับชุมชน Hyperion

ส่วนเทคโนโลยีในชั้นของ Service Layer ประกอบด้วยบริการแผนที่แบบเปิดอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผนวกรวมเข้ากับ MapChain ที่เปิดโอกาสให้ชุมชน Hyperion Map Community สามารถสร้างข้อมูลแผนที่ ใช้บริการแผนที่ และแลกเปลี่ยนข้อมูลแผนที่ โดย HMS มีโมดูลหลัก ๆ อยู่ 3 โมดูลด้วยกัน ได้แก่ dMapper ชุดโปรแกรมผลิตแผนที่แบบกระจายศูนย์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ทำแผนที่ (Mapper) สามารถสร้าง อัปเดต หรือแก้ไขแผนที่

โมดูลที่สองได้แก่ dMap บริการแผนที่ที่รักษาความเป็นส่วนตัวอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผู้ใช้งานแผนที่ (Map) สามารถใช้งานได้ในหลายกรณี และสุดท้ายได้แก่ Hyperion Marketplace ตลาดแลกเปลี่ยนข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งแบบเปิด ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลตำแหน่งที่ตั้ง และใช้บริการ location-based services รูปแบบต่าง ๆ เช่น บริการโฆษณา เป็นต้น

สำหรับในชั้นของ Ecosystem Layer นำเสนอบริการ location-based services (LBS) เช่น บริการโซเชียลเน็ตเวิร์ก บริการโฆษณา และบริการเกมแบบอิงตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับ HDLR โดย Hyperion จะประสานงานกับ LBS ลักษณะต่าง ๆ เพื่อยกระดับระบบนิเวศของ Hyperion และเพื่อแสดงศักยภาพในบริการของ Hyperion ให้ถึงขีดสุด Hyperion จึงเตรียมพัฒนาตัวอย่าง LBS ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยบริการแผนที่สำหรับผู้บริโภคในชื่อ Titan และบริการเกมแบบ location-based

เมื่อเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ระบบนิเวศนี้จะก่อให้เกิดเครือข่ายผู้ใช้งานคุณภาพที่ได้รับสิ่งจูงใจและสิ่งตอบแทนการมีส่วนร่วมในแพลตฟอร์มนี้ รวมไปถึงกลุ่มผู้จัดการที่จะช่วยรับรองคุณภาพของข้อมูลและความยุติธรรมของระบบรางวัล ตลอดจนเหล่าผู้สนับสนุนที่จะทำให้มีผู้ใช้งานเข้าร่วมแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น

เรื่องมาใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ไมโครชิพ ช่วยนักพัฒนาเร่งการออกแบบโหนด IoT ระยะไกล ด้วยผลิตภัณฑ์ตระกูล LoRa(R) System-in-Package ที่ใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
Infineon เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับ TPM 2.0 เพิ่มความปลอดภัยการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์
“MI SHOP by แม่วังสื่อสาร” เปิดแล้ววันนี้ ที่เซ็นทรัล แอร์พอร์ต
“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” ร่วมโชว์นวัตกรรมวิศวกรรม เพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย
วสท. เปิดงาน ‘วิศวกรรมแห่งชาติ 2018’ อย่างยิ่งใหญ่
ไซปรัสจับมือ VeChain Foundation และ CREAM พัฒนาฟินเทคและบล็อกเชนในไซปรัส