วันพฤหัสบดี, 16 พฤษภาคม 2567

ยูดีดีซีและภาคีฯ จัดหลักสูตร “นักสำรวจเมือง” หวังปลุกพลัง “พลเมืองตื่นรู้” ขับเคลื่อนฟื้นเมืองเชียงใหม่

Social Share

ยูดีดีซี  เทศบาลนครเชียงใหม่  และภาคภาคีเครือข่าย  จัดหลักสูตรนักสำรวจเมือง  “เตียว เวียง เจียงใหม่”  ชวนคนเมืองติดอาวุธด้าน  “เมือง พื้นที่ ชีวิตสาธารณะ”  จากผู้เชียวชาญยูดีดีซีและนักวิชาการในพื้นที่  พร้อมลงพื้นที่ย่านเมืองเก่าเมืองเชียงใหม่  เรียนรู้วิธีการจัดเก็บข้อมูลที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาฟื้นฟูเมือง  หวังปลุกพลัง  “พลเมืองตื่นรู้”  ร่วมขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็น  “เมืองเดินได้  เมืองเดินดี”  ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต  เศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม  และผลักดันให้เกิดขึ้นจริงจากความร่วมมือกัทุกภาคส่วน

9  พฤศจิกายน  2562  ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง  (UDDC)  จับมือเทศบาลนครเชียงใหม่และภาคีพัฒนาเมืองเชียงใหม่  จัดการสัมมนาเชิงปฏบัติ  “นักสำรวจเมือง”  (The Urban Surveyor)  รุ่นที่ 2 ตอน  เตียว เวียง เจียงใหม่  ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่  อ.เมืองเชียงใหม่  จ.เชียงใหม่  ได้รับความสนใจจากชาวเมืองเชียงใหม่ร่วมกิจกรรมกว่า  100 คน  ตลอดหลักสูตรผู้ร่วมกิจกรรมาได้รับอัดแน่นทั้งในนเชิงทฤษฎีและปฏิบัติจากผู้เชียวชาญ  อาทิ  คุณอดิศักดิ์  กันทะเมืองลี้  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง  (UDDC)  ฝ่ายวิจัย  และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้  เมืองเดินดี  (GoodWalk)  ที่ร่วมบรรยายในหัวข้อ  “เมือง พื้นที่ และชีวิตสาธารณะ”  พร้อมแนะนำวิธีจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ที่มีประโยชน์สูงสุดต่อการเปลี่ยนแปลงเมือง

คุณอดิศักดิ์  กันทะเมืองลี้  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง  (UDDC)  ฝ่ายวิจัย  และผู้จัดการโครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี  (GoodWalk)  กล่าวว่า  หลักสูตรนักสำรวจเมือง  รุ่นที่ 2 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด  “เตียว เวียง เจียงใหม่”  ภายหลังการจัดรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 25622  ณ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย  ประสบความสำเร็จอย่างสูงและได้กระแสเรียกร้องให้จัดในเมืองรองตามภูมิภาค  มีเป้าหมายสร้างพลเมืองตื่นรู้  (Active Citizen)  ที่มีส่วนผลักดันสร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเมืองร่วมกับภาครัฐ  ภาคเอกชน  และภาคประชาสังคม  ตลอดจนเป็นผู้มีความรู้พื้นฐานเรื่องเมืองและการจัดเก็บข้อมูล

กิจกรรมเวิร์คช็อปนักสำรวจเมืองมีเป้าหมายเบื้องต้นเพื่อติดอาวุธกับพลเมืองตื่นรู้ในเรื่องงเมืองและพื้นที่สาธารณะ  ตลอดจนความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลเปิดหรือ  Open Data  ทั้งจากภาครัฐ  เอกชน  และประชาชนทั่วไป  ซึ่ง  Open Data  จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้การบริการจัดการเมืองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ซึ่งเหล่านักสำรวจเมืองจะได้ทอลองเก็บข้อมูลในเขตเมืองเก่าพื่นที่เขตคูเมืองเดิม  เพื่อสังเกตลักษณะทางกายภาพ  ตลอดจนพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่สาธารณะ  ซึ่่งข้อมูลดังกล่าวล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อการออกแบบพื้นที่ให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง

นอกจากนี้  ผู้ร่วมการสัมมนาหลักสูตร   “นักสำรวจเมือง”  ตอน  เตียว เวียง เชียงใหม่  ยังได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่อีกหลายท่านร่วมบรรยาย  “เมือง คนเมือง นักสำรวจเมือง”  ผ่านมุมมองต่างๆ  อาทิ มุมมองสถาปนิกผังเมือง  โดย  ผศ.ดร. วิทยา  ดวงธิมา  ผู้ช่่วยศาสตราจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  มุมมองนักภูมิศาสตร์เมือง  โดย  อ.ดร. ญาณิน  จิวะกิดาการหุยากรณ์  อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และุมุมมองคนเมือง  และพลเมือง  โดย  คุณธีรมล  บัวงาม  สำนักสื่อประชาธรรม

ผลการศึกษาของ  ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง  (UDDC)  ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่เกือบร้อยละ  45  ของเทศบาลนครเชียงใหม่  เป็นพื้นที่ที่สามารถใชชีวิตอยู่ได้ด้วยการเดินเท้า  แต่อย่างไรก็ตาม  สภาพปัญหาในปัจจุบันที่ผู้คนและนักท่องเที่ยวต้องเผชิญอยู่  คือ  สภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนและทางเท้าที่ยังไม่ดีพอ  รวมถึงปัญหาการจราจรติดขัดโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน  ตลอดจนช่วงฤดูกาลของการท่องเที่ยว  ทั้งนี้อาจจะด้วยข้อจำกัดบางประการของระบบขนส่งมวลชนเมืองเชียงใหม่ที่ยังต้องพัฒนาเพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานอันจะช่วยส่งเสริม  “วิถีการเดินเท้า”  ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป  อย่างไรก็ตาม  ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกลุ่มพลเมืองตื่นรู้  จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เมืองเชียงใหม่ไปสู่เป้าหมายสูงสุด  ของการเป็นเมืองวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเป็นมิตรกับการเดินเท้าได้ในที่สุด

กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตรนักสำรวจเมือง  รุ่นที่ 2  “เตียว ส่อง เวียง เจียงใหม่”  จัดโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง  (UDDC)  ร่วมกับภาคีพัฒนาย่านเดินได้เดินดีเชียงใหม่  ประกอบด้วย  เทศบาลนครเชียงใหม่  กลุ่มสถาปนิกชุมชนคนใจบ้าน  กลุ่มเขียวสวยหอม  เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่  หอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่  กรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองล้านนา  สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย  และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยแม่โาจ้  สนับสนุนโดย  สำนักงานกองทุนการสร้งเสริมสุขภาพ  (สสส.)

เรื่องมาใหม่