วันอังคาร, 30 เมษายน 2567

(มีคลิป) ไมโครชิพ แนะนำตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล dsPIC(R) แบบแกนคู่ ทำงานที่มีเวลาเป็นเงื่อนไขได้โดยไม่สะดุด

25 มิ.ย. 2018
2161
Social Share

ไมโครชิพ แนะนำตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล dsPIC(R) แบบแกนคู่ ที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานร่วมกันได้โดยไม่สะดุด ซึ่งถือว่า ผลิตภัณฑ์ตระกูล dsPIC33CH เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมระบบ embedded ประสิทธิภาพสูง สำหรับงานที่มีเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ

กรุงเทพฯ (25 มิ.ย. 61) จากนี้ไป นักพัฒนาระบบที่ออกแบบแอปพลิเคชั่นการใช้งานควบคุมระบบ embedded แบบไฮเอนด์ จะสามารถใช้ประโยชน์จากตัวควบคุมสัญญาณดิจิทัล หรือ Digital Signal Controller (DSC) ใหม่ล่าสุดในตระกูล dsPIC จากบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด โดยผลิตภัณฑ์ dsPIC33CH มีแกนจำนวนสองแกนที่ถูกประกอบไว้ในชิปเพียงตัวเดียว

โดยที่แกนหนึ่งถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่เป็นแกนหลัก ขณะที่อีกแกนเป็นแกนลูกที่คอยสนับสนุนการทำงานและช่วยควบคุมจุดวิกฤติในเวลาที่แกนหลักไม่สามารถต่อประสานกับผู้ใช้ ตรวจสอบระบบ ตลอดจนทำการสื่อสารและปรับแต่งให้เข้ากับการใช้งานในขั้นตอนสุดท้ายได้ dsPIC33CH ถูกออกแบบมาให้แกนทั้งสอง ซึ่งได้รับการพัฒนาอย่างอิสระจากทีมออกแบบที่แยกออกจากกัน สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นเมื่อถูกนำมาใส่ไว้รวมกันในชิปตัวเดียว รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.microchip.com/dsPIC33CH

dsPIC33CH ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ดิจิทัลประสิทธิภาพสูง อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ และการใช้งานอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยการทำงานที่ซับซ้อน ซึ่งรวมถึงการใช้งานในอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างเครื่องชาร์ตไฟแบบไร้สาย อุปกรณ์จ่ายไฟบนเซิร์ฟเวอร์ โดรน และอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น ในอุปกรณ์จ่ายไฟแบบดิจิทัล แกนลูกจะทำหน้าที่จัดการอัลกอริทึมแบบ math-intensive algorithms ในขณะที่แกนหลักจะจัดการกับกลุ่มโพรโตคอล PMBus [TM] อย่างเป็นอิสระ

โดยมีฟังก์ชั่นตรวจสอบระบบการทำงานอีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพและการตอบสนองให้กับระบบโดยรวม การกระจายหน้าที่การทำงานของแกนทั้งสองในอุปกรณ์เครื่องเดียวกันนี้จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกำลังไฟฟ้าโดยมีความถี่ในการสลับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้สามารถใช้ส่วนประกอบที่มีขนาดเล็กลงได้ dsPIC33CH ถูกออกแบบมาให้มีการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์จ่ายไฟที่ต้องมีการอัพเดตตเฟิร์มแวร์อยู่ตลอดเอเวลาโดยไม่หยุดทำงาน

ในพัดลมหรือเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติ แกนลูกจะทำหน้าที่ควบคุมความเร็วและแรงบิด ในขณะที่แกนหลักจะคอยสื่อสารกับ Controller Area Network Flexible Data rate (CAN-FD) ตลอดจนควบคุมและตรวจสอบระบบ โดยที่แกนทั้งสองนี้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ทำให้อัลกิริทึมขั้นสูงสามารถพัฒนาประสิทธิภาพและการตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น แกนทั้งสองตัวในอุปกรณ์ dsPIC33CH นี้ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าแกน dsPIC DSC ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

โดยมี 1.การลงทะเบียนที่มีบริบทให้เลือกมากขึ้นเพื่อเพิ่มการตอบสนองต่อกิจกรรมที่เข้ามาขัดจังหวะ,  2.คำแนะนำใหม่ ๆ เพื่อเร่งประสิทธิภาพการทำงานให้กับ Digital Signal Processor (DSP) และ 3.การดำเนินการตามคำสั่งได้เร็วยิ่งขึ้น

“ลูกค้าบอกกับเราถึงความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งที่พวกเขาต้องเผชิญ นั่นคือการรวมซอฟต์แวร์จากหลายทีมเข้าด้วยกัน โดยทีมหนึ่งเน้นเรื่องรหัสการควบคุมที่มีเวลาเป็นเงื่อนไขสำคัญ ขณะที่อีกทีมดูแลงานในส่วนอื่นที่เหลือ” โจ ทอมเซน รองประธานหน่วยธุรกิจ MCU16 ของไมโครชิพ กล่าว “เราสร้างผลิตภัณฑ์แบบสองแกนขึ้น เพื่อให้การรวมซอฟต์แวร์ดังกล่าวกลายเป็นเรื่องง่าย ทั้งยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับการใช้งานในลักษณะ math-intensive”

ผลิตภัณฑ์ตระกูล dsPIC33CH มอบประสิทธิภาพในการรวมระบบได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยมาในแพคเกจขนาดเล็กเพียง 5 x 5 มม. แต่ครบครันด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย อาทิ CAN-FD communications ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนระบบและขนาดของบอร์ด แกนแต่ละตัวจึงมาพร้อมกับกับเพอริเฟอรัลขั้นสูง ซึ่งรวมถึง ADCs และ DACs ความเร็วสูง พร้อมด้วยวงจรกำเนิดสัญญาณ (waveform generation), ตัวเปรียบเทียบสัญญาณแอนะล็อก (analog comparators), ตัวขยายสัญญาณแอนะล็อก (analog programmable gain amplifiers) และฮาร์ดแวร์ Pulse Width Modulation (PWM) ความละเอียดสูง

การที่มีสองแกน ทั้งยังมาพร้อมกับเพอริเฟอรัลสำหรับการใช้งานเฉพาะทาง ทำให้แกนแต่ละตัวสามารถตรวจสอบการทำงานของกันและกันได้ ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย จึงเอื้อต่อการออกแบบระบบที่แข็งแกร่งและทนทาน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพ และสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่ microchipDIRECT ซึ่งเป็นช่องทางบริการอย่างเต็มรูปแบบของไมโครชิพ หรือติดต่อตัวแทนจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิพ

การสนับสนุนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ dsPIC33CH รองรับการทำงานร่วมกับระบบสนับสนุนการพัฒนา MPLAB® ของไมโครชิพ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่ได้รับรางวัลการันตีมาแล้วอย่าง MPLAB X Integrated Development Environment (IDE) และ MPLAB Code Configurator ซึ่งไมโครชิพเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี

dsPIC33CH Curiosity Board (DM330028) เป็นแพลตฟอร์มที่มีความคุ้มค่าและยืดหยุ่น ช่วยให้ลูกค้าสามารถสร้างต้นแบบที่มีฟีเจอร์ครบครันได้อย่างรวดเร็ว dsPIC33CH Plug-in Module (PIM) สำหรับบอร์ดควบคุมมอเตอร์ (MA330039) ใช้ได้กับระบบ MCLV-2 และ MCHV-2/3 ของไมโครชิพ ขณะที่ dsPIC33CH PIM สำหรับการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป (MA330040) นั้น ใช้ได้กับบอร์ดพัฒนา Explorer 16/32 Development Board (DM240001-2) แล้ววันนี้

การวางจำหน่าย dsPIC33CH วางจำหน่ายใน 8 แพคเกจที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 28 ไปจนถึง 80 pin และในขนาดเล็กเพียง 5 x 5 มม. โดยมีขนาดหน่วยความจำแฟลชให้เลือก ตั้งแต่ 64 จนถึง 128 KB สำหรับ dsPIC33CH Curiosity Development Board, dsPIC33CH PIM สำหรับบอร์ดควบคุมมอเตอร์ และ dsPIC33CH PIM สำหรับใช้ร่วมกับบอร์ด Explorer 16/32 นั้น ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดนี้มีจำหน่ายแล้วเช่นกัน

เกี่ยวกับ ไมโครชิพ เทคโนโลยี : บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหา Solution ของไมโครคอนโทรลเลอร์ วงจรรวมแบบผสมสัญญาณ แอนะล็อก และแฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาการออกแบบและพัฒนาของลูกค้าในตลาดทั่วโลกกว่าพันราย สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com

หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ The Microchip, โลโก้ Microchip, dsPIC และ MPLAB เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ

แหล่งที่มา : microchip.com, พีอาร์นิวสไวร์/อินโฟเควสท์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ไมโครชิพ ช่วยนักพัฒนาเร่งการออกแบบโหนด IoT ระยะไกล ด้วยผลิตภัณฑ์ตระกูล LoRa(R) System-in-Package ที่ใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
Infineon เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับ TPM 2.0 เพิ่มความปลอดภัยการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์
“MI SHOP by แม่วังสื่อสาร” เปิดแล้ววันนี้ ที่เซ็นทรัล แอร์พอร์ต
“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” ร่วมโชว์นวัตกรรมวิศวกรรม เพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย
วสท. เปิดงาน ‘วิศวกรรมแห่งชาติ 2018’ อย่างยิ่งใหญ่
ไซปรัสจับมือ VeChain Foundation และ CREAM พัฒนาฟินเทคและบล็อกเชนในไซปรัส