วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2564 ที่ศูนย์กลางขนส่งมวลชนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดตัวรถไฟฟ้าขนส่งมวชนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นใหม่ พร้อมพาคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชนนั่งรถไฟฟ้าเยี่ยมชมรอบมหาวิทยาลัย สำหรับรถรุ่นไฟฟ้ารุ่นใหม่นั้นได้ใช้ พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เป็นแบบลิเทียมไอออนฟอสเฟต สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งวัน ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ในช่วงเวลา 07.00 น.- 22.00 น. ตลอดทั้ง 7 วันต่อสัปดาห์
ในปีที่ผ่านมามีผู้ใช้งานสะสมกว่า 5,700,000 คน รวมระยะทางกว่า 5.8 ล้านกิโลเมตร มีส่วนช่วยลดบริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1,650 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับในปีงบประมาณ 2563 ศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดหารถไฟฟ้ารุ่นใหม่จำนวน 40 คัน มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท รถไฟฟ้ารุ่นใหม่นั้นมีห้องโดยสารแบบปิด โดยมีหน้าต่างที่เปิด – ปิดได้ และภายในมีพัดลมไว้ให้บริการ สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 16 คน การนับจำนวนผู้โดยสารด้วยวิธี Image Processing ร่วมกับ AI และผู้ใช้บริการสามารถติดตามตำแหน่งรถ เส้นทางเดินรถแต่ละสาย และจำนวนผู้โดยสารในรถแต่ละคันได้จากแอปพลิเคชัน CMU MOBILE แบบ Realtime ด้านหน้ามีป้าย LED บอกสายรถแต่ละคัน มองเห็นได้ง่ายแม้ในเวลากลางคืน มีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในทุกคัน เช่นกล้องวงจรปิดที่มองเห็นผู้โดยสารทุกที่นั่ง รวมถึงภาพจากด้านหน้าและด้านหลังของรถ มีจอแสดงภาพให้พนักงานขับรถดูได้ตลอดเวลา มีจอภาพสำหรับการแสดงข้อมูลการให้บริการและสื่อประชาสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีถังดับเพลิงและค้อนทุบกระจกเตรียมไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินด้วย
เรื่องมาใหม่
- แม่สะเรียง เส้นทางโรงเรียนชายขอบ ยังวิกฤตครูชาวบ้าน เดินทางนับ 10 ชม. ฝ่ากองดินสไลด์ถนนเละ ยกรถข้ามน้ำ
- น้ำสาละวินเพิ่มสูงขึ้น อบต.แม่สามแลบ ขอความร่วมมืองดเดินเรือเพื่อความปลอดภัย
- อบต.ขุนแม่ลาน้อย เร่งเปิดเส้นทางดินสไลด์ ถนนเขตรอยต่อบ้านฟักทอง ต.ขุนแม่ลา – บ้านปางหินฝน หลังพายุฝนกระหน่ำไม่หยุด
- อำเภอสบเมย 7 หมู่บ้าน 18 หย่อมบ้าน ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ถูกตัดขาด เส้นทางมีดินสไลด์ ไหล่น้ำกัดเซาะ ต้นไม้หักโค่น ภาวนาอย่าให้มีผู้ป่วยฉุกเฉิน
- อำเภอสบเมย ติดตามสถานการณ์อุทกภัยบ้านเรือนราษฎรริมน้ำยวม จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “วิภา”