ไมโครชิพ เปิดตัว 32-bit MCU ตระกูลใหม่ ครั้งแรกที่ผสานความปลอดภัยระดับชิปอันเป็นเลิศเข้ากับเทคโนโลยี Arm TrustZone เพื่อความปลอดภัยแก่อุปกรณ์ปลายทาง IoT ซึ่ง MCU ตระกูลใหม่ชูคุณสมบัติกินไฟต่ำ พร้อมการสัมผัสแบบคาปาซิทีฟ (Capacitive Touch) ที่ทนทานต่อสิ่งรบกวนประเภทหยดน้ำและสัญญาณรบกวน
กรุงเทพฯ (25 มิ.ย. 61) ปัจจุบันอุปกรณ์ปลายทาง Internet of Things (IoT) มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงมาก ขณะที่ความปลอดภัยในบางครั้งก็เป็นเรื่องที่นักออกแบบหลายรายมองเป็นเรื่องรอง ส่งผลให้ทุกวันนี้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่ทรัพย์สินทางปัญญา (IP) และข้อมูลอ่อนไหวอื่น ๆ อาจรั่วไหลออกไป ดังนั้น เพื่อรองรับความต้องการด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนี้ บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด จึงขอแนะนำ MCU ตระกูลใหม่ ได้แก่ SAM L10 และ SAM L11 ที่พร้อมวางจำหน่ายแล้ววันนี้ รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.microchip.com/SAML11
MCU ตระกูลใหม่ทำงานบนหน่วยประมวลผล Arm® Cortex®-M23 โดยตระกูล SAM L11 มาพร้อมกับ Arm TrustZone® for Armv8-M ซึ่งภาพรวมการพัฒนาแบบโปรแกรม มีการแยก Hardware, Certificate Library, IP และ Application code ไมโครชิพได้ มอบความปลอดภัยอันเป็นเลิศ ด้วยการผนวกรวมคุณสมบัติ Tamper Resistance ระดับชิป, ฟีเจอร์ Secure Boot และหน่วยเก็บข้อมูล Key Storage ที่มีความปลอดภัย ซึ่งเมื่อผสานเข้ากับเทคโนโลยี TrustZone แล้ว ก็จะช่วยปกป้องแอพพลิเคชันของลูกค้าจากการโจมตีทั้งจากระยะไกลและระยะประชิด
MCU ใหม่ทั้งสองตระกูลนำเสนอคุณสมบัติกินไฟน้อยที่สุดในอุตสาหกรรม ทั้งยังรองรับการสัมผัสแบบคาปาซิทีฟ(Capacitive Touch)ที่ทนน้ำและสัญญาณรบกวนอย่างเป็นเลิศ เมื่อประเมินผลการกินไฟแล้วพบว่า SAM L10 ทำคะแนน ULPMark™ ได้ 405 ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่า 200% เทียบกับชิปของบริษัทอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันและได้รับการรับรองจาก EEMBC® (Embedded Microprocessor Benchmark Consortium) โดยไมโครชิพใช้เทคโนโลยีกรรมสิทธิ์ของบริษัทอย่าง picoPower® เพื่อมอบคุณสมบัติการกินไฟต่ำในโหมด Active และโหมด Sleep ทั้งหมด
“บ่อยครั้งที่อุปกรณ์ปลายทาง IoT จำเป็นต้องกินไฟต่ำ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีความปลอดภัยสูง” ร็อด เดรก รองประธานหน่วยธุรกิจ MCU32 ของไมโครชิพ กล่าว “อย่างไรก็ดี การเติบโตของจำนวนโหนด IoT นั้นกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประเด็นเรื่องความปลอดภัยอาจถูกมองข้ามไป ฟีเจอร์ของ SAM L11 จึงเป็นสิ่งที่ลูกค้าจำเป็นต้องมี เพื่อวางแผนด้านความปลอดภัยในวงจรการออกแบบตั้งแต่เนิ่น ๆ”
นอกเหนือจากเทคโนโลยี TrustZone แล้ว ฟีเจอร์ความปลอดภัยของ SAM L11 ยังประกอบด้วยโมดูลการเข้ารหัสแบบ on-board ที่รองรับ Advanced Encryption Standard (AES), Galois Counter Mode (GCM) และ Secure Hash Algorithm (SHA) ขณะที่ฟีเจอร์ Secure Boot และหน่วยเก็บข้อมูล Key Storage ที่มีความปลอดภัยพร้อมคุณสมบัติตรวจจับการพยายามเจาะข้อมูลนั้น จะเป็นตัวสร้าง Root of Trust (RoT) ในฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Bootloader เพื่อให้อัพเกรดเฟิร์มแวร์ได้อย่างปลอดภัยด้วย
โดยไมโครชิพได้จับมือเป็นพันธมิตรกับสมาชิกโครงการ Security Design Partner Program ของไมโครชิพอย่าง Trustonic เพื่อนำเสนอเฟรมเวิร์คโซลูชั่นความปลอดภัยอย่างครอบคลุม ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการควบคุมดูแลความปลอดภัยตามแผนงาน และเปิดโอกาสให้ลูกค้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดได้เร็วขึ้น และไมโครชิพยังได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ Secure Thingz และ Data I/O Corporation เพื่อให้บริการ Provisioning ที่มีความปลอดภัยแก่ลูกค้า SAM L11 ที่มีเฟรมเวิร์คดูแลความปลอดภัยที่ทดสอบแล้ว
MCU ใหม่ทั้งสองตระกูลมาพร้อมกับ Peripheral Touch Controller (PTC) รุ่นใหม่ล่าสุดของไมโครชิพ เพื่อรองรับการสัมผัสแบบคาปาซิทีฟ (Capacitive Touch) ซึ่งนักออกแบบสามารถเพิ่มอินเทอร์เฟซการสัมผัสได้โดยง่าย เพื่อให้ประสบการณ์การใช้งานเป็นไปอย่างลื่นไหลและมีประสิทธิภาพ แม้มีความชื้นและสัญญาณรบกวน แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติกินไฟต่ำ อินเทอร์เฟซการสัมผัสนี้ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวเหมาะกับการใช้งานหลากหลายประเภท ทั้งยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ ไปจนถึง Human Machine Interface (HMI) สำหรับผู้บริโภค
การสนับสนุนการพัฒนา ชุดอุปกรณ์ SAM L10 และ SAM L11 Xplained Pro Evaluation Kits พร้อมสนับสนุนการเริ่มต้นพัฒนา โดย MCUs ทั้งหมดในตระกูล SAM L10/L11 รองรับการทำงานร่วมกับ Atmel Studio 7 Integrated Development Environment (IDE), IAR Embedded Workbench, Arm Keil® MDK รวมไปถึง Atmel START ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่เปิดให้ใช้ฟรี สำหรับการกำหนดค่าอุปกรณ์เสริมและซอฟต์แวร์ที่ช่วยเร่งการพัฒนา
นอกจากนี้ START ยังสนับสนุนเทคโนโลยี TrustZone เพื่อการกำหนดค่าและเริ่มการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือดีบักเกอร์และตัววิเคราะห์ข้อมูล เพื่อติดตามและวิเคราะห์การใช้พลังงานในแบบเรียลไทม์ และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้อย่างปัจจุบันทันด่วนเพื่อตอบสนองการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ไมโครชิพยังนำเสนอ QTouch® Modular Library, 2D Touch Surface Library และ QTouch Configurator เพื่อช่วยให้การพัฒนาการสัมผัสเป็นเรื่องง่าย
การวางจำหน่าย อุปกรณ์ SAM L10 และ SAM L11 มีจำหน่ายแล้ววันนี้ โดยมีจำนวน pin และแพคเกจให้เลือกหลากหลาย สำหรับการสั่งซื้อในปริมาณมาก อุปกรณ์ในซีรีส์ SAM L10 จำหน่ายในปริมาณ 10,000 ชิ้น, อุปกรณ์ในซีรีส์ SAM L11 จำหน่ายในปริมาณ 10,000 ชิ้น และชุดอุปกรณ์ SAM L10 และ SAM L11 Xplained Pro Evaluation Kits มีจำหน่ายแล้ว (DM320204 และ DM320205 ตามลำดับ)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกที่ได้รับแต่งตั้งจากไมโครชิพ หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพ และสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้ได้ที่ microchipDIRECT ซึ่งเป็นช่องทางบริการอย่างเต็มรูปแบบของไมโครชิพ หรือติดต่อตัวแทนจัดจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตจากไมโครชิพ
เกี่ยวกับ ไมโครชิพ เทคโนโลยี : บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด (NASDAQ: MCHP) เป็นผู้นำด้านการจัดหา Solution ของไมโครคอนโทรลเลอร์ วงจรรวมแบบผสมสัญญาณ แอนะล็อก และแฟลช-ไอพี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนโดยรวมของทั้งระบบ และยังช่วยลดระยะเวลาการออกแบบและพัฒนาของลูกค้าในตลาดทั่วโลกกว่าพันราย สำนักงานใหญ่ของไมโครชิพตั้งอยู่ที่เมืองแชนด์เลอร์ รัฐแอริโซนา บริษัทนำเสนอการสนับสนุนด้านเทคนิคที่เป็นเลิศ พร้อมกับการขนส่งและคุณภาพที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของไมโครชิพที่ www.microchip.com
หมายเหตุ: ชื่อและโลโก้ The Microchip, โลโก้ Microchip, picoPower และ QTouch เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี จำกัด ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ เครื่องหมายการค้าอื่นทั้งหมดที่ระบุถึงในข่าวฉบับนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของ
แหล่งที่มา : microchip, พีอาร์นิวสไวร์/อินโฟเควสท์
เรื่องมาใหม่
- สนง.ชลประทานที่ 1 จัดโครงการกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- กรมสุขภาพจิต ส่งทีม รพ.สวนปรุง สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 ลงพื้นที่เยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุดินสไลด์ จ.เชียงใหม่ และน้ำท่วม จ.เชียงราย
- สภ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ออกปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ หมู่ 9 บ้านสันป่าไหน่ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และประชาสัมพันธ์เส้นทางสัญจรให้กับประชาชนในพื้นที่
- ผบช.ภ.5 กำชับตำรวจร่วมดูแลพี่น้องประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมเป็นสำคัญ ภ.จว.เชียงราย เร่งตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วม ประสานงานช่วยเหลือประชาชน ตำรวจพร้อมช่วยเหลืออย่างเต็มที่
- สภ.แม่จัน จ.เชียงราย ทำกระสอบทรายช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงในพื้นที่ และนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม