วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

พาว มิราเคิล รับมอบเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากผลงานวิจัย “เทคโนโลยีขั้นสูงกระบวนการผลิตสไปรูลินาไฟโคไซยานิน” ลดความเสี่ยงต่อกลุ่มโรค NCDs จาก ม.พะเยา และ ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง

Social Share

พาว มิราเคิล รับมอบเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากผลงานวิจัย “เทคโนโลยีขั้นสูงกระบวนการผลิตสไปรูลินาไฟโคไซยานิน” ซึ่งมีงานวิจัยรับรองว่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อกลุ่มโรค NCDs ได้ จากมหาวิทยาลัยพะเยา และ ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง

ล่าสุด พาว มิราเคิล  นำโดย คุณอธิชาติ ชุมนานนท์  ได้รับมอบเทคโนโลยีและองค์ความรู้ผลงานวิจัย จาก บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด  (บริษัทคู่ค้าของ พาว  มิราเคิล) โดยมีคุณรัฐวิชญ์  สิริอมรสิทธิ์  ประธานบริหาร  บริษัท ซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ลงนามในสัญญารับมอบเทคโนโลยี   และองค์ความรู้จากผลงานวิจัย  เรื่อง “เทคโนโลยีขั้นสูงกระบวนการผลิตสไปรูลินาไฟโคไซยานิน”  ร่วมกับ รศ.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์   อธิการบดี  มหาวิทยาลัยพะเยา ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา

คุณอธิชาติ ชุมนานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง พาว มิราเคิล. กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับมอบเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากผลงานวิจัย “เทคโนโลยีขั้นสูงกระบวนการผลิตสไปรูลินาไฟโคไซยานิน” จากมหาวิทยาลัยพะเยา และซีเอ็มเอช เชียงใหม่ โฮลดิ้ง ในครั้งนี้ เนื่องด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของ พาว มิราเคิลเอง เรามีแนวคิดและแนวทางการทำธุรกิจสุขภาพที่ยั่งยืนและชัดเจนว่า ทุกผลิตภัณฑ์ที่เราผลิตและนำมามอบให้กับผู้บริโภคต้องมีงานวิจัยคุณภาพรับรองเป็นสำคัญ กอปรกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับประเทศ ซึ่งนั่นก็จะทำให้เราสามารถผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคได้และส่งเสริมให้เกิดการมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนด้วยสมุนไพรล้ำค่าจากธรรมชาติ ซึ่งเน้นในเรื่องสารออกฤทธิ์สำคัญและคุณประโยชน์ มีความปลอดภัย ไม่ตกค้างสะสมในร่างกายนอกจากนี้สิ่งที่เราให้ความสำคัญและสนใจเป็นพิเศษ คือการได้ส่งเสริมผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตรไทย ที่มีเกษตรกรท้องถิ่นเป็นฐานหลัก ทำหน้าที่เป็นผู้พัฒนาวัตถุดิบต้นน้ำ  และนำมาศึกษาผ่านงานวิจัยให้เกิดความมั่นใจว่าวัตถุดิบทางการเกษตรนั้นมีมูลค่าและคุณประโยชน์ในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ได้   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์สินค้าการเกษตรไทยที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อกลุ่มโรค NCDs อย่างเช่น  สไปรูลิน่า

กลุ่มโรค NCDs นั้น ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความเห็นว่ากำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สังเกตจาก สถิติผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs พบว่าสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด มีถึง 63% ที่เกิดจากกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญกว่านั้นคือ กว่า 80% เป็น ประชากรของประเทศที่กำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุด พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งโรคในกลุ่ม โรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่  โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)   โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ (Cardiovascular & Cerebrovascular Diseases )   โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)    โรคมะเร็ง (Cancer)   โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)   และโรคอ้วนลงพุง (Obesity)  องค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

สำหรับ สไปรูลิน่า เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว จัดอยู่ในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ให้สารคลอโรฟิลล์ในประมาณที่สูงและยังเป็นสาหร่ายที่อุดมไปด้วยสารอาหารโปรตีน 60-70% กรดไขมันจำเป็น วิตามินและ เกลือแร่ รวมทั้งสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย    มีคุณสมบัติช่วยในเรื่องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (6)  และการก่อให้เกิดโรคอ้วนลงพุง   โดยมีกลไกลการทำงานดังนี้

กลไกที่ 1 สารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) ช่วยยับยั้งการทำงานของ อัลฟ่าอะไมเลส (alpha-amylase) บล็อกตัวที่ย่อยแป้งเป็นน้ำตาล ทำให้แป้งไม่เปลี่ยนเป็นน้ำตาล ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลเข้าไป

กลไกที่ 2 สารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) ช่วยกระตุ้นการทำงานของ แอลฟากลูโคซิเดส (α-Glucosidase) เป็นเอนไซม์ที่อยู่ในตับ เมื่อเอนไซม์ถูกกระตุ้นจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคส ไปเป็น กลูโคส-6-ฟอสเฟต (glucose-6-phosphate) ซึ่งเป็นโมเลกุลที่ถูกกำจัดโดยตับ ลดแป้งเป็นน้ำตาล และลดน้ำตาลโดยกระบวนการทำงานของตับ

นอกจากนี้สาหร่ายสไปรูลิน่า จะให้สารไฟโคไซยานิน ( Phycocyanin ) และโพลีแซคคาไรด์ ( Polysaccharide ) ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว จึงช่วยในการลดความเสี่ยงภูมิแพ้  ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ได้ทั้งโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์  ควบคุมความดันโลหิต (คลอโรฟิลล์ช่วยหลอดเลือดขยายตัว)

จากงานวิจัยของสาหร่ายสไปรูลิน่า   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ  และงานวิจัยต่างประเทศ  พบว่า  สาหร่ายสไปรูริน่า  จะให้สารไฟโคไซยานิน ( Phycocyanin ) และโพลีแซคคาไรด์ ( Polysaccharide ) ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว จึงช่วยในการลดความเสี่ยงภูมิแพ้  ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ได้ทั้งโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ควบคุมความดันโลหิต (คลอโรฟิลล์ช่วยหลอดเลือดขยายตัว)  มีข้อมูลการศึกษา พ.ศ. 2550 พบว่า อาสาสมัคร 36 คนที่ได้รับ สไปรูไลนา 4.5 กรัมต่อวัน เป็นเวลานานกว่าหกสัปดาห์ มีความเปลี่ยนแปลงในคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตอย่างสำคัญ คือ (1) ลดคอเลสตอรอลรวม (2) เพิ่ม HDL คอเลสเตอรอล (3) ลดไตรกลีเซอไรด์และ (4) ลดความดันโลหิตทั้งขณะบีบและคลาย[29]อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่มีกลุ่มควบคุม นักวิจัยจึงไม่อาจมั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้นี่เป็นผลทั้งหมด หรือแม้กระทั่งบางส่วน ของการได้รับSpirulina maximaซึ่งตรงกันข้ามกับตัวแปรรบกวน (นั่นคือ ความตรงภายในและคุณลักษณะอุปสงค์) การศึกษาแบบสุ่ม อำพรางสองฝ่าย และมีการแทรกแซงด้วยยาหลอก (randomized, double-blind, placebo-controlled intervention) ในผู้ป่วยสูงอายุพบว่า สไปรูลินาช่วยลดอัตราส่วน LDL ต่อ HDL ลงอย่างมากหลังได้รับ เป็นเวลา 4 เดือน (2)

ความปลอดภัยของสาหร่ายสไปรูลิน่า ได้รับการยอมรับอย่างดีโดย NASA พบว่า (สาหร่ายสไปรูลิน่า 1 กก. คือเทียบเท่า 1,000 กก. ของผักต่างๆ) สาหร่ายสไปรูลิน่าได้ รับการรับรองว่าเป็น“ อาหารปลอดภัย” ด้วยเลขที่ผลกระทบทางพิษวิทยาและได้รับ GRAS (ได้รับการยอมรับว่าปลอดภัย) ได้รับการรับรองโดยมีปริมาณการใช้ 5-10 กรัม(1) 

เอกสารอ้างอิงงานวิจัย

  1. Antidiabetic effects of Momordica charantia (bitter melon) and its medicinal potency. Asian Pac J Trop Dis. 2013.
  2. Comparison between different preparations (fruit juice, freeze-dried fruit juice and seedless dry fruit) of bitter melon (Momordica Chrantia) on postprandial plasma glucose, insulin and lipid levels in type 2 diabetics. Rama Med J. 2011.
  3. Effect of acute bitter melon intake on postprandial glucose and insulin in sedentary, abdominally obese persons. Func Foods Health Dis. 2019.
  4. Cinnamon Use in Type 2 Diabetes: An Updated Systematic Review and Meta-Analysis. Ann Fam Me. 2013.
  5. Dr. Kr. Nagulendran, Dr. N. KavithaGerophyta Nutraceuticals, “Antiviral and Immuno Modulating Role of Super Food Spirulina and Covid-19”Herbals & Spirulina Production and Research, Illuppur Post, Pudukottai, Tamil Nadu, India.(page 622.)
  6. Park H Hee Jung Park, Yun Jung Lee, Han Kyoung Ryu, Mi Hyun Kim, Hye Won Chung and Wha Young Kim “A Randomized Double-Blind, Placebo-Controlled Study to Establish the Effects of Spirulina in Elderly Koreans”Ann Nutr Metab 2008;52:322–328
เรื่องมาใหม่