วันศุกร์, 3 พฤษภาคม 2567

เครือข่ายละเวือะ (ลัวะ) เพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า

Social Share

เครือข่ายละเวือะ (ลัวะ) เพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า

วันที่ 13 มีนาคม 2567 นายไพฑูรย์ สำราญไพรวัลย์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานฯ พร้อมด้วย นายวรศักดิ์ พานทอง นายอำเภอแม่สะเรียง เปิดงานสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าละเวือะ (ลัวะ) ครั้งที่ 3 โดยการสนับสนุนจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแป๋ กระทรวงวัฒนธรรม ศมส. (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร) สสส. (สานพลัง สร้างนวัตกรรม สื่อสาร) และสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย ณ บ้านป่าแป๋ หมู่ที่ 3 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โดย นายคำปัน ประทีปพจน์ ประธานเครือข่ายฯ พร้อมด้วยนายวิบูลย์ มหาศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้านป่าแป๋ ร่วมกับพี่น้องในชุมชน จัดขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานรัฐและสาธารณชนได้เข้าใจสถานการณ์และปัญหาที่ชนเผ่าละเวือะ (ลัวะ) ประสบอยู่ ตลอดจนยอมรับคุณค่าวิถีวัฒนธรรมและเคารพสิทธิความเป็นชนเผ่าละเวือะ (ลัวะ) ตามปฏิญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง อีกทั้ง เป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาอันดีงามของคนละเวือะ เชื่อมความสัมพันธ์ของชุมชนทุกหมู่บ้าน

ภายในงาน มีการแข่งขันฟุตซอลเชื่อมความสัมพันธ์ กีฬาพื้นบ้านและการแข่งขันวาดภาพ หัวข้อวันละเวือะ การแสดงทางวัฒนธรรมของชุมชน วัฒนธรรมศิลปินชนเผ่าละเวือะ พ่ออารีย์ ,ดอน โมซัมเบรียง การแข่งขันวงดนตรีร้องเพลงละเวือะ และมีพิธีขึ้นบ้านใหม่ การแข่งขันประกอบ ตำข้าว นำเสนอการดำเนินงานด้านสิทธิของชนเผ่า โดย ศจ.ดร.ทองทิพย์ แก้วใส เวทีสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อ “ร่างกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง กับแนวคิดพื้นที่คุ้มครอง ส่งเสริมวิถีชีวิต ชนเผ่าละเวือะ ( ลั๊วะ ) เวทีแลกเปลี่ยนในระดับเครือข่าย หัวข้อแนวทางการขับเคลื่อนพื้นที่ทางวัฒนธรรม และแผนการสร้างพื้นที่รูปธรรมของชุมชน และ การประกวดขบวนละเวือะ ยังมีการจัดนิทรรศการวิถีชีวิต การแสดงศิลปวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ มหกรรมอาหารและแลกเปลี่ยนแบ่งปันเมล็ดพันธุ์พืชพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร สินค้าชุมชนจากกลุ่มแม่บ้าน การเดินแฟชั่นโชว์ชุดละเวือะ

การจัดงานดังกล่าว เป็นการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ระหว่างชุมชน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชุมชนที่อยู่บนฐานวัฒนธรรมตนเอง เป็นการสืบสานวัฒนธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน คนรุ่นใหม่ ตลอดจนเป็นการเปิดพื้นที่ให้ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่ทำงานกับชุมชน ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกันอันจะนำไปสู่การหนุนเสริมกันระหว่างองค์กรในการสนับสนุนชุมชนะลเวือะ (ลัวะ) ได้ตรงตามที่ชุมชนต้องการ รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สู่สาธารณะได้อย่างถูกต้อง

Cr. ฉลอง หมั่นสกุล