ลำพูน เปิดงานพิพิธภัณฑ์มีชีวิต กาดชุมชนสืบสานวัฒนธรรมไท-ยอง ที่ชุมชนบ้านหนองเงือก
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2567 นายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานเปิดงาน “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กาดชุมชนสืบสานวัฒนธรรมไท-ยอง” โดยมี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง คณาจารย์ ผู้นำชุมชน ประชาชน และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ประเทศไทยได้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาชาติซึ่งหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าวัฒนธรรมและทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งหมายรวมถึงผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์และหล่อหลอมทางสังคมจากรุ่นสู่รุ่นหลายๆ อย่างกำลังประสบกับภาวะเสื่อมถอย กรณีของวัฒนธรรมพื้นถิ่นของล้านนาเราสามารถรับรู้ความเสื่อมถอย จากการสังเกตพบว่าวัฒนธรรมพื้นถิ่นหลายอย่าง เช่น ภาษาเมือง การแต่งกายแบบเมือง และการยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบเมืองมีความเข้มข้นในการปฏิบัติน้อยลง สภาพการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามาตรการในการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของชาติและของพื้นถิ่นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และยังพบว่าท้องถิ่นหรือชุมชนยังไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจนไม่สามารถยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้สมาชิกของชุมชนสามารถอยู่อย่างพอเพียงและยั่งยืนได้
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งมีความคิดและความตั้งใจที่จะดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลำปาง และชุมชนบ้านหนองเงือก จังหวัดลำพูน โดยการนำเอาคุณค่าและมรดกทางภูมิปัญญา ทุนทางสังคมและวัฒนธรรมมาพัฒนาให้เกิด “การท่องเที่ยว” สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการผลักดันวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ
Cr. ชาญฤทธิ์ มณีจอม
เรื่องมาใหม่
- เชียงดาว ทหารผาเมือง ปะทะกลุ่มขบวนการลักลอบลำเลียงยาเสพติด ยึดยาบ้า 200,000 เม็ด
- ทต.บ้านกลาง ผนึกกำลัง บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ นำโดรนอัจฉริยะ HORRUS ใช้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ ยกระดับท้องถิ่นไทยสู่ความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
- เชียงราย รวบผัวเมียขายหวยลาว-ทำเว็บพนันเงินหมุนเวียนนับล้าน
- (คลิป) เชียงราย แจ้งความจับผู้นำหมู่บ้านเรียกรับเงินเคลียร์ คุมประพฤติ
- แอมเนสตี้เปิดตัวแคมเปญ ‘Write for Rights’ หรือ ‘เขียน เปลี่ยน โลก’ ประจำปี 2567