สพฉ. ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลในถิ่นทุรกันดารขั้นสูง แก่ แพทย์ พยาบาล บุคลกรทางการแพทย์ในพื้นที่ทุรกันดาร เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในถิ่นทุรกันดารในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กล่าวเปิดประชุม และบรรยายถึงความสำคัญ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน แก่ ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลในถิ่นทุรกันดารขั้นสูง (Wilderness Advanced First Aid; WAFA) ทาง Zoom วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ณ Rescue Park Thailand (เรสคิว พาร์ค ไทยแลนด์) จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องมีการจัดอบรมหลักสูตรนี้ เพราะว่า ประเทศไทยมีบริเวณที่มีเป็นถิ่นทุรกันดารอยู่มาก ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแนวกิจกรรมผจญภัย (adventure activities) ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวแนวกิจกรรมผจญภัย และมีบริเวณที่เป็นถิ่นทุรกันดาร เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยาน (aeromedical transport; sky doctor) ในเขตภาคเหนือ ที่มีผู้ป่วยฉุกเฉินใช้บริการมากกว่าร้อยละ 55.27 ราย (จากข้อมูลการปฏิบัติการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศยาน ทั้งประเทศตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบัน) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นการฝึกอบรมให้ความรู้ ด้านการแพทย์ในถิ่นทุรกันดารให้แก่แพทย์ พยาบาล บุคลกรทางการแพทย์ในพื้นที่ที่มีโอกาสเผชิญสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ การดูแล และการปฏิบัติการรักษาเบื้องต้นในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ หรือ สภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติการรักษาพยาบาลนอกโรงพยาบาล เพื่อช่วยชีวิต และลดความพิการให้แก่ผู้ป่วยในพื้นที่ทุรกันดารให้น้องลง
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่ออีกว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดให้มีการอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาลในถิ่นทุรกันดารขั้นสูง (Wilderness Advanced First Aid; WAFA) ขึ้น ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ.บวร วิทยชำนาญกุล หัวหน้าภาควิชา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงหลักสูตรดังกล่าว ว่า เป็นหลักสูตรอบรมจากต่างประเทศ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำมาใช้ในการฝึกอบรมครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และได้ร่วมกันคัดเลือกบุคลากรทางการแพทย์เข้ารับการอบรม ใช้เวลาฝึกอบรม จำนวน 4 วัน มีทั้งการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ เน้นการสาธิต และฝึกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยแบ่งการอบรมเป็นจำนวน 2 รุ่นๆ ละ 21 คน รวม 42 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 21-24 กุมภาพันธ์ 2565 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 21-24 มีนาคม 2565 ณ Rescue Park Thailand (เรสคิว พาร์ค ไทยแลนด์) จังหวัดเชียงใหม่
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวในตอนท้ายว่า การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้ แพทย์ พยาบาล บุคลกรทางการแพทย์ในพื้นที่ทุรกันดาร และพื้นที่ที่มีโอกาสเผชิญสถานการณ์ดังกล่าว สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประเมินและดูแลผู้ป่วยในบริบทการแพทย์ในถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งต่อยอดในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยในถิ่นทุรกันดาร เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยใน ถิ่นทุรกันดารในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร สามารถเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐาน อย่างทั่วถึง เท่าเทียม ต่อไป
เรื่องมาใหม่
- แม่ฮ่องสอน ชุมชนยลวิถีบ้านต่อแพ ถ่ายทอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น แก่เด็ก เยาวชน สืบสานสิ่งดีงามและวิถีชีวิต ต่อยอดสร้างรายได้
- ลุยกันต่อ รอไม่ไหว 3 เส้นทาง 7 จุด อบต.แม่สามแลบ จับมือ ชาวบ้านเดินหน้าช่วยกันซ่อมแซม สู่เส้นทางความปลอดภัย
- อช.สาละวิน จับกุมผู้ต้องหาล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ พร้อมตรวจยึดอาวุธปืน ซากรอก สัตว์ป่าคุ้มครอง 6 ซาก ดำเนินคดี
- ทต.เมืองยวมใต้ ร่วมกับ สะพานบุญครูหนึ่ง มอบเตียงไฟฟ้า และ เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ป่วยติดเตียง
- ป้องกันไว้ก่อน อบต.แม่สามแลบ ชาวบ้านขนดินหินปิดร่องลึกเพื่อการสัญจรที่ปลอดภัย เตือนไม่จำเป็นขอให้เลี่ยงเดินทาง