วันเสาร์, 2 พฤศจิกายน 2567

กิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียง ร่วมมือกับ สสส. และ สพป. แม่ฮ่องสอน เขต 2 จัดโครงการ “อ่าน อาน อ๊าน : ยกกำลังสุข ปลุกพลังการเรียนรู้”

Social Share

กิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียง ร่วมมือกับ สสส. และ สพป. แม่ฮ่องสอน เขต 2 จัดโครงการ “อ่าน อาน อ๊าน : ยกกำลังสุข ปลุกพลังการเรียนรู้” พัฒนาเด็กในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง นายวรศักดิ์ พานทอง นายอำเภอแม่สะเรียง เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมโครงการพัฒนาครูผู้สอน ภายใต้ โครงการเชิงปฏิบัติการ “อ่าน อาน อ๊าน : ยกกำลังสุข ปลุกพลังการเรียนรู้” เพื่อให้ครูมีเครื่องมือ สื่อ การเรียนการสอนและเทคนิคในรูปแบบของหนังสือนิทานฝึกหัดอ่านตามพัฒนาการทางภาษา เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออกเขียนไม่คล่องของเด็กๆ ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมยและอำเภอแม่ลาน้อย โดยมี นางพิทยา พานทอง นายกกิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียง คณะกรรมการและสมาชิกกิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียง ดร.กัญญาพัชร พงษ์ดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 นายบวรศักดิ์ เพชรานนท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงวง/โครงการตามพระราชดำริ(มจธ) ผู้อำนวยการโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 ในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมยและอำเภอแม่ลาน้อย จำนวน 67 โรงเรียน และ คณะครู จำนวน 128 ท่าน เข้าร่วมอบรม

สำหรับการจัดโครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างกิ่งกาชาดอำเภอแม่สะเรียงร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 และทีมวิชาการฝ่ายแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)โดยมี นางสุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านปฏิบัติการ และรพีพรรณ พัฒนาเวช นักวิชาการประจำโครงการฯ เป็นวิทยากรในอบรมครั้งนี้ พร้อมมอบ ชุดหนังสือ“อ่าน อาน อ๊าน” ให้กับผู้เข้ารับการอบรมฯ จำนวน 128 ชุด ประกอบด้วย หนังสือฝึกอ่านอ่านอานอ๊าน

ชุดที่ 1 และหนังสือฝึกอ่านอ่านอานอ๊าน ชุดที่ 2 ชุด ‘อ่านอานอ๊าน’ เป็นหนังสือหัดอ่านตามระดับพัฒนาการทางภาษา ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในการออกแบบจากการศึกษาหนังสือ Levels Book ของ Oxford Reading Tree ประเทศอังกฤษที่ใช้เป็นหนังสือฝึกอ่านเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออก นอกจากนี้ ‘อ่านอานอ๊าน’ ยังออกแบบโดยอ้างอิงมาจากหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทย หลักสูตรปี 2521 ชุด ‘มานะ มานี ปิติ ชูใจ’ อีกด้วย โดยใช้ระบบการเรียนการอ่านอย่างเป็นลำดับขั้น

การอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกระบวนการส่งเสริมการอ่าน การเรียนรู้ ด้วยชุดหนังสือ อ่าน อาน อ๊าน ในกลุ่มเด็กวัย 3 – 9 ปี พัฒนาศักยภาพผู้เลี้ยงดูเด็ก / ครู – ผู้ทำงานด้านเด็ก (กระบวนการ อ่าน อาน อ๊าน) ในสถานศึกษาพื้นที่ห่างไกลหรือชายขอบ ให้มีความสามารถเป็นกระบวนกรสร้างการเรียนรู้ผ่านการอ่านให้แก่เด็ก และศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสังคม โดยพิจารณาจากพัฒนาการการอ่าน เขียนของเด็กที่ดีขึ้น

Cr. สุกัลยา / จ.แม่ฮ่องสอน

เรื่องมาใหม่