วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

รัฐมนตรีวัฒนธรรม เปิด KICK OFF กฎหมายชาติพันธุ์ที่แม่ฮ่องสอน ให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลชุดนี้

Social Share

รัฐมนตรีวัฒนธรรม เปิด KICK OFF กฎหมายชาติพันธุ์ เดินหน้าคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตทุกกลุ่มวัฒนธรรมบนความเสมอภาค ขับเคลื่อนกฎหมายชาติพันธุ์ให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลชุดนี้

เวลา 10.00 น. วันที่ 18 มกราคม 2567 ที่บริเวณกาดซอกจ่า บ้านผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนของ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางมาเป็นประธานเปิดกิจกรรม KICK OFF กฎหมายชาติพันธุ์ เดินหน้าคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตทุกกลุ่มวัฒนธรรมบนความเสมอภาคตามนโยบายรัฐบาล โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ นายโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) พร้อมเครือข่ายพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์จากทั่วประเทศที่รวมทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน กว่า 1,000 คน มาให้การต้อนรับกันอย่างอบอุ่น โดยแต่ละชาติพันธุ์จากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งภาคกลางและภาคตะวันออก นำผลิตภัณสินค้ามาจำหน่าย และนำการแสดงจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มาให้ชม

นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าววา แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากถึง 13 กลุ่ม มีพี่น้องใต หรือชาวไทใหญ่ เป็นกลุ่มประซากรหลัก อยู่ร่วมกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ปกาเกอญอ ลเวือะ ลีชู ลาหู่ มั้ง กะยัน กะแย กะยอ โปว์ จีนยูนนาน ปะโอและคนไทยวนหรือคนเมืองแม่ฮ่องสอนเป็นเมืองที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ แสดงให้เห็นว่า ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกัน อีกทั้งทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม สร้างความงดงามให้แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เป็นหมุดหมายปลายทางที่คนจากทั่วโลกมุ่งเดินทางมาสัมผัสความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่งดงามของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในปี 2566 ที่ผ่านมา มีชาวโทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมเยือนจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากกว่า 1 ล้านคน สร้างรายได้ภายในจังหวัดมากกว่ 3,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ แม่ฮ่องสอน ยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดของประเทศ แสดงให้เห็นว่า วิถีดำรงชีวิตของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นวีถีแห่งความสมดุลและยั่งยืน เป็นวิถีแห่งการอนุรักษ์ที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพยังคงอุดมสมบูรณ์ เป็นรูปธรรมที่แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถดำรงอยู่ได้ร่วมกับการรักษาความหลากหลายทางธรรมชาติที่ต่างเกื้อกูลซึ่งกันและกันจนเกิดเป็นความงอกงามจากรูปธรรมการดำรงอยู่ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในปี 2563 กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกันประกาศขับเคลื่อนแม่ฮ่องสอนเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ระดับจังหวัด ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ซึ่งถือเป็นจังหวัดแรกที่ได้รับประกาศให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ระดับจังหวัด และขอสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้การขับเคลื่อนกฎหมายชาติพันธุ์ประสบความสำเร็จ

นายโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า วันนี้สังคมไทยเป็นสังคมพหวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มากถึง 60 กลุ่ม มีประชากรที่นิยามตนเองว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และซนเผ่าพื้นเมืองมากกว่า 10 ล้านคน ชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของชาติ ควรได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมตั้งแต่ปีทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา กระทรวงวัฒนธรรมจึงเห็นถึงความสำคัญและได้เสนอนโยบายนำร่องฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและซาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรี 2 มิถุนายน 2553 และ 3 สิงหาคม 2553 ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมในการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศ และสามารถยกระดับให้เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 70 เป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดกฎหมายชาติพันธุ์ในวันนี้

ในส่วนของรัฐบาล เมื่อมีการประกาศแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม ในปี 2562 ได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 70 โดยจัดเวทีเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนถึง 36 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมให้ความเห็นมากกว่า 3000 คน ถือเป็นการจัดทำร่างกฎหมายที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างรอบด้านอย่างไรก็ดี ด้วยกระแสการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ภาคประชาชน โดย สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง นอกจากนี้ฝ่ายการเมืองเองก็ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง โดยร่างกฎหมายทุกฉบับที่กล่าวมา ต่างมีหลักการและสาระสำคัญในแนวทางเดียวกัน คือ มุ่งให้การคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม โดยให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสิทธิเสมอภาคกันอย่างไม่เลือกปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน และวางแนวทางในการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเป็นระบบ มีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์

ขณะนี้ร่างกฎหมายชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองทุกฉบับ ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรับหลักการ ก่อนเสนอเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติ ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะร่วมกันเดินหน้าขับเคลื่อนกฎหมายสำคัญฉบับนี้ไปด้วยกัน กระทรวงวัฒนธรรม โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จึงร่วมกับภาคีองค์กรเครือข่าย และพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองจากทุกภูมิภาคของประเทศ จัดงาน KICK OFF กฎหมายชาติพันธุ์ เดินหน้าคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตทุกกลุ่มวัฒนธรรมบนความเสมอภาค ขึ้น ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งความหลากหลาย ทุกกลุ่มวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันอย่างเคารพและยอมรับในวิถีวัฒนธรรมที่แตกต่าง ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันชับเคลื่อนกฎหมายชาติพันธุ์ เพื่อสร้างสั่งคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความเสมอภาค เคารพในความแตกต่างหลากหลาย อยู่ร่วมกันอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐบาลให้ความสำคัญกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มในประเทศไทยอย่างเสมอภาคกัน โดยเห็นว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ เป็น “พลัง” ในการสร้างสรรค์ประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายที่ชัดเจนในการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดย ท่านนายกรัฐมนตรี ได้แถลงไว้ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์โดยจะดูแลให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมด้วยสวัสดิการโดยรัฐกระทรวงวัฒนธรรมได้เร่งรัด จัดทำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ขณะนี้ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณารับหลักการแล้ว นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมยังให้ความสำคัญและในการสนับสนุนร่างกฎหมายชาติพันธุ์ทุกฉบับที่มีหลักการและเป้าหมายเดียวกัน คือ ให้การคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม และส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค ขอแสดงเจตนารมณ์ร่วมกับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ทุกกลุ่ม ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกัน KICKOFF กฎหมายชาติพันธุ์ เดินหน้าสร้างสังคมแห่งความเสมอภาคที่ทุกกลุ่มวัฒนธรรมได้รับกาคุ้มครองวิถีชีวิตและส่งเสริมศักยภาพอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนกฎหมายชาติพันธุ์ให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลชุดนี้

Cr. ฉลอง หมั่นสกุล

เรื่องมาใหม่