เทศบาลเมืองแม่เหียะ สร้างความเข้มแข็งสตรี มุ่งสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ที่อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองแม่เหียะ จัดกิจกรรมอบรมเพิ่มศักยภาพสตรีเทศบาลเมืองแม่เหียะ ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายองค์กรชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดย นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ พร้อมด้วยคณะผู้บิหาร สมาชิกสภา กำนันผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วย ชมรมสตรีเทศบาลเมืองแม่เหียะ กว่า 400 คน เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพิ่มศักยภาพสตรีเทศบาลเมืองแม่เหียะ ให้มีความเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองแม่เหียะ ต่อไป
นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ กล่าวว่า ปัจจุบันชมรมสตรีเทศบาลเมืองแม่เหียะ มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก โดยเทศบาลเมืองแม่เหียะเล็งเห็นความสำคัญของสตรี ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 400 คน จาก 10 หมู่บ้าน เพื่อต้องการเพิ่มศักยภาพให้มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น จึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเพิ่มศักยภาพขึ้น โดยทีมวิทยากรจากเทศบาลเมืองแม่เหียะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเป็นการสร้างภาวะความเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างเร่งดำเนินการ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เพราะสตรีมีส่วนช่วยสังคมให้เกื้อกูลกัน รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้แก่สังคม
เทศบาลเมืองแม่เหียะ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญ ในการพัฒนาองค์กรสตรีทุกกลุ่มในพื้นที่ของเทศบาล ซึ่งสตรีที่เป็นสมาชิกชมรมนั้นมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาหมู่บ้ายน / ชุมชน สร้างจิตสาธารณะหรือจิตอาสาให้ประชาชนในพื้นที่ นับเป็นการส่งเสริมสนับสนุน และสร้างการดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วม ตั้งแต่กระบวนการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์เพื่อให้ทั่วถึงกับประชาชน และตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
เรื่องมาใหม่
- ทีเส็บ จัดโรดโชว์โครงการ ‘ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย’ เปิดประตูสู่ภาคเหนือ เยือนเชียงใหม่สร้างความมั่นใจจัดกิจกรรมไมซ์ช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทย
- รวมไทยสร้างชาติแม่ฮ่องสอน สรรหาส่งชื่อว่าที่ผู้สมัคร สส.แม่ฮ่องสอน
- แม่ลาน้อย สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่าลเวือะ ครั้งที่ 2 พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่น
- ยึด 4 แสนเม็ด ทหารผาเมือง ปะทะเดือด แก๊งค้ายชายแดนแม่อายเชียงใหม่
- สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 แม่ฮ่องสอน ปล่อยแถวดับไฟป่า ลดจุดความร้อน ป้องกัน PM 2.5 สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน