วันศุกร์, 26 เมษายน 2567

(คลิป) กลุ่มชาติพันธุ์ยิ้มร่า! จุรินทร์ ประกาศ “อมก๋อยโมเดล” หาตลาดให้สินค้าเกษตรบนดอย

Social Share

กลุ่มชาติพันธุ์ยิ้มร่า! จุรินทร์ ประกาศ “อมก๋อยโมเดล” หาตลาดให้สินค้าเกษตรบนดอย นำเอกชนผู้ซื้อ MOU มะเขือเทศ-กะหล่ำปลี-บุก-ฟักทอง

1 สิงหาคม 2563 : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ พบปะและร่วมรับฟังปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ณ หอประชุมที่ว่าการอําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวยุวดี เพลินพัฒนา รองนางงามกระเหรี่ยงโลก 2019 ให้การต้อนรับ พร้อมกับ ว่าที่ร้อยตรี อดิศักดิ์ ดวงจินดา นายอำเภออมก๋อย และข้าราชการในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้พบปะและร่วมรับฟังปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้ร่วมเป็นสักขีพยานลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อสนับสนุนสินค้าทางการเกษตร (มะเขือเทศ ฟักทอง กะหล่ำปลี และบุก) ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชน รวม 9 บริษัท ที่เชื่อมโยงและมีการตกลงซื้อขายสินค้าเกษตร ผ่านการทำสัญญาข้อตกลงมาตรฐาน ปริมาณผลผลิตรวม 8,825 ตัน มูลค่ากว่า 210.39 ล้านบาท พร้อมมอบถุงยังชีพบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนและปรุงอาหารมอบข้าวกล่องให้แก่พี่น้องปะชาชน ติดตามโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชนล็อต 4 (พิเศษ)

 

นายจุรินทร์ ใช้โอกาสนี้พบปะประชาชนชาติพันธุ์กว่า 2000 คน และกล่าวว่า ดีใจที่ได้มีโอกาสมาเยี่ยมพี่น้องชาวอมก๋อยได้ และทราบจากท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่บอกว่าอมก๋อยไม่ค่อยได้มีโอกาสต้อนรับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในคณะรัฐบาล ซึ่งล่าสุดปี 2547 ผ่านมา 17 ปีแล้ว วันนี้ขอทำหน้าที่แทนรัฐบาลและแทนกระทรวงพาณิชย์ มาเยี่ยมพี่น้องที่นี่ มาช่วยแก้ปัญหาให้พี่น้อง โดยกระทรวงพาณิชย์ได้หาคนรับซื้อพืชเกษตร 5 ตัวให้กับพี่น้องคือ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ฟักทอง พริกและบุก เพื่อให้พี่น้องมีหลักประกันว่าต่อไปนี้เค้าจะมารับซื้อในราคาขั้นต่ำว่าไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละเท่าไร โดยมีพรรคพวกของพี่น้องเองเป็นผู้รวบรวมผลผลิตอาจจะเรียกว่าสหกรณ์หรือกลุ่มสหกรณ์เป็นต้นรวมตัวกันรวมตัวกันและขายให้กับผู้รับซื้อที่กระทรวงพาณิชย์นำมาซื้อโดยให้ทำสัญญากันเลยโดยวันนี้จะมีการเซ็นสัญญา 10 สัญญาและตัวแทนเกษตรกรของพี่น้องที่จะมาเซ็นสัญญาจะไปรวบรวมผลผลิตจากพี่น้องตามราคาที่เซ็นสัญญาพี่น้องก็จะมีหลักประกันในการขายผลผลิตทางการเกษตรในราคาที่เป็นธรรมและแน่นอนชัดเจนขึ้น

โดยประโยชน์ที่เกษตรกร และผู้รับซื้อ ผู้ขาย โรงงานแปรรูปจะได้รับนั้น กลุ่มเกษตรกรมีทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการขายผลผลิต และมีแหล่งรองรับผลผลิต รวมถึงงหลักประกันรายได้ที่แน่นอน ตลอดจนได้เรียนรู้การซื้อขายของแต่ละตลาดที่มีความแตกต่างกัน ทำให้สามารถปรับตัวกับระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ในขณะที่ผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตรได้รับผลผลิต วัตถุดิบเป็นไปตามคุณภาพและปริมาณที่ต้องการ ทำให้สามารถบริหารจัดการวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่อไป

นายจุรินทร์ ระบุว่า เมื่อวานนี้มีโอกาสมานั่งคุยกับพวกเราที่ใต้ต้นมะเดื่อ 30 – 40 คน รับทราบว่าพี่น้องที่นี่ปลูกมะเขือเทศมีปัญหามากเพราะว่าเวลาที่น้องปลูกมะเขือเสร็จ ส่งไปขายเป็นเดือนแล้วยังไม่รู้ว่ามะเขือเทศได้กิโลกรัมละกี่บาทจะมารู้ที่หลังซึ่งไม่ยุติธรรมดังนั้นต่อไปนี้การรับซื้อมะเขือเทศจะต้องปิดป้ายราคารับซื้อไว้ให้ชัดเจนทุกวัน ตนจะมอบหมายให้อธิบดีกรมการค้าภายในลงนามกำหนดว่าการลงรับซื้อมะเขือเทศต้องประกาศปิดป้ายราคา

และวันนี้ตนพาผู้ซื้อมาเซ็นสัญญา มะเขือเทศ กำหนดราคาว่าเบอร์หนึ่งให้รับซื้อกิโลกรัมละ 34 บาท เบอร์สอง 32 บาท เบอร์สาม 20 บาท แต่จะมาเซ็นสัญญา 3 เดือนก่อน ตั้งแต่สิงหาคม-ตุลาคม แล้วจะมาเซ็นสัญญารับซื้อ 2,300 ตัน โดยผู้ที่รวบรวมเซ็นสัญญาจะต้องไปกระจายแบ่งกันไป กับผู้ปลูกมะเขือเทศที่ลงทะเบียน พี่น้องต้องมาลงทะเบียนจะได้มีชื่ออยู่ในระบบ มอบหมายให้นายอำเภอและเกษตรจังหวัดรวมทั้งพาณิชย์จังหวัดได้ไปจัดจุดบริการให้ทุกตำบล และจะแจ้งว่าไปตำบลที่ไหนอย่างไรจึงให้พี่น้องไปขึ้นทะเบียนเพราะถ้าไม่ขึ้นทะเบียนรัฐบาลจะไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร

 

สำหรับกะหล่ำปลี มีผู้รวบรวมโดยกำหนดราคานอกฤดูคือตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ กิโลกรัมละ 12 บาท ส่วนในฤดูมีนาคมถึงกันยายน กิโลกรัมละ 5 บาท ส่วนฟักทองจะรับซื้อ 6,000 ตันโดยกำหนดราคาไว้ที่กิโลกรัมไม่ต่ำกว่า 11 บาทตลอดปี สำหรับฟักทองขนาด 2-3 กิโลกรัมต่อหัว ตามมาตรฐานที่กำหนด และบุกจะมารับซื้อเซ็นสัญญาวันนี้โดยกำหนดว่าจะรับซื้อ 6,000 ตันกิโลกรัมละ 25 บาทตลอดปี

” พี่น้องปลูกบุกได้แต่อย่าทำผิดกฎหมายอย่าบุกรุกป่า อย่าตัดไม้ทำลายป่า จะทำให้พื้นที่ป่าเสียหายเพราะป่าคือบ้านของพวกเราทุกคน ถ้าป่าหมดสุดท้ายบ้านเราก็จะกลายเป็นบ้านหัวโล้น คนที่ได้รับผลกระทบที่สุดคือรุ่นลูก รุ่นหลานเรา เราต้องช่วยกันแต่ถ้าเราปลูกพืชเกษตรบนที่ดินที่ถูกต้องเหมาะสมเราจะมีโอกาสขายราคาดี ผมจะเป็นคนหนึ่งที่ช่วยพี่น้องกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรมาช่วยพี่น้องต่อไป” นายจุรินทร์ กล่าว

รองนายกรัฐมนตรีกว่าด้วยว่า ได้นำโครงการพาณิชย์ลดราคาช่วยประชาชนมาลดราคาขายของให้พี่น้องด้วยใครพกตังค์มาก็ไปซื้อได้ ราคาสินค้าจะถูกเป็นพิเศษที่ถูกมากที่สุดมี 5 ตัวคือ

  1. ไข่ไก่ฟองละ 2 บาท
  2. น้ำมันพืชขวดละ 30 บาท
  3. น้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 20 บาท
  4. ปลากระป๋อง กระป๋องละ 10 บาท
  5. ข้าวสาร 5 กิโลกรัม 95 บาทต่อถุง และมีเนื้อหมูราคาพิเศษมาขายด้วย หมูเนื้อแดงกิโลกรัมละ 130 บาท

พร้อมกับนำของยังชีพมามอบให้กับพี่น้องที่มาทุกคนโดยประกอบด้วย ผ้าห่มจากบริษัทไทยเบฟ ไข่ไก่คนละหนึ่งแผงมี 30 ฟอง น้ำตาลทรายคนละ 1 กิโลกรัม และน้ำมันพืชยี่ห้อมรกตคนละหนึ่งขวดเป็นต้น

” ต่อไปจะเป็น “อมก๋อยโมเดล”เพื่อที่จะนำไปใช้ต่อไป เพื่อให้เป็นหลักประกันว่าพี่น้องจะนำสินค้าไปขายได้ดีขึ้นและมีราคาที่พี่น้องคาดหวังได้ชัดเจนขึ้น คำนวณรายได้รายจ่ายของพี่น้องในการปรับปรุงชีวิตได้ชัดเจนเป็นขึ้น หวังว่าตัวแทนทั้งสองฝ่ายจะซื่อตรงต่อกันและปฏิบัติตามสัญญาที่ลงนามไว้ ถือเป็นการลงนามตามกฏหมายซึ่งผูกพันทั้งสองฝ่ายขอแสดงความยินดีกับพี่น้องทุกคน”

ต่อมาทางคณะได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสินค้าพาณิชน์ลดราคา และเยี่ยมแปลงปลูกมะเขือเทศและข้าวดอย โดยมีเด็กดอยนำเก็บมะเขือเทศ และหวานปุ๋ยนาดอยร่วมกับเด็กๆและเกษตรกรในพื้นที่อมก๋อยด้วย