วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชาครั้งที่ 25

Social Share

“พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชาครั้งที่ 25 พาครูอาจารย์ขึ้นเหนือ เยือนศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ 

วันที่ 21 ม.ค. 66 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 25” 9 ตามรอย “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” ห้วยฮ่องไคร้ ปลูกป่าในใจคน ธรรมดี ช่วยน้อง…โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยมี ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) นางจิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ คณาจารย์และนักเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมรับมอบพันธุ์เป็ด จำนวน 300 ตัว และปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืด จำนวน 2,500 ตัว ลงสู่อ่างเก็บน้ำภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียน ครูอาจารย์ ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างแท้จริง ด้วยการลงมือทำกับกิจกรรมในห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก 4,800 กว่าโครงการในพระราชดำริทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย พร้อมทั้งได้ซึมชับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงสร้างไว้เพื่อให้พสกนิกรได้นำมาพัฒนาเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งในกิจกรรมครั้งที่ 25 นี้ ได้พาครูอาจารย์ ลงพื้นที่ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็น 1 ใน 6 ศูนย์ จาก 4,800 โครงการในพระราชดำริ เป็นการศึกษา การพัฒนาป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำสำธาร ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ ผสานกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนม และด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ แล้วสามารถนำไปปฏิบัติต่อได้ เปรียบเสมือนเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต”

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ลงมือทำกิจกรรมการเพาะเห็ด ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นอาชีพเสริม การร่วมมอบเป็ดไข่ จำนวน 300 ตัวให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 15 โรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้เด็กนักเรียนได้เพาะเลี้ยงและสามารถนำไข่เป็ดมาบริโภคสำหรับมื้อกลางวัน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้ร่วมประสบการณ์การทำแนวป้องกันไฟป่าเปียกตามแนวพระราชดำริ เป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาของไฟป่าตอบโจทย์เรื่องควันพิษมลภาวะที่เกิดจากควันไฟ ลดฝุ่น PM 2.5

ทั้งหมดนี้ เป็นการสอดแทรกความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และร่วมมือกันในการป้องกันเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงตอกย้ำความเข้าใจในเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมร่วมกิจกรรม Workshop ถอดรหัสนวัตกรรมศาสตร์พระราชา เรียนรู้นวัตกรรมสื่อการสอนสำหรับเยาวชนในศตวรรษที่ 21 Interactive Board Game จากวิทยากร อาจารย์ ดุลย์ ดาราธรรม นายกสมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย เพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้สำหรับเยาวชนคนรุ่นใหม่และการพัฒนานวัตกรรมแบบก้าวกระโดดสำหรับองค์กรต่อไป และรับฟังบรรยายจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รศ. นพ. สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และ ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี

นางวิชชุดา ไตรธรรม ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชานี้เราได้ทำต่อเนื่องมาตั้งปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ 25 เป็นการเริ่มต้นเดินก้าวเล็กๆ แต่ก้าวเดินอย่างมั่นคงต่อเนื่อง เราคาดหวังให้เกิดการต่อยอดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและพระราชกรณีกิจของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปสู่เต็กและเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติต่อไป ทั้งนี้จากกิจกรรมที่ผ่านมา ผลตอบรับจากครูอาจารย์ที่ได้ร่วมกิจกรรม และนำกลับไปต่อยอดสอนให้กับเต็กๆ ได้ผลดีมาก ทั้งครูและเด็กเกิดประสบการณีในการเรียนรู้ และมีความเข้าใจในเรื่องราวของโครงการในพระราชดำริมากขึ้น สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพได้ และที่สำคัญคือได้เข้าใจ เรียนรู้สามารถนำไปพัฒนาตนเอง ด้วยหลักคุณธรรม 5 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู เกิดการสร้างแรงบันดาลใจ เกิดทัศนคติทางบวก ต่อครอบครัว สังคม ไปจนถึงประเทศชาติ ยังคงมุ่งมั่นที่จะสานต่อโครงการเพื่อก้าวสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้ต่อไป” นางวิขขุดา กล่าวเพิ่มเติม

ดร. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานมูลนิธิธรรมดี กล่าวว่า “โครงการนี้ เป็นการเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN SDGs ภายในปี 2030 เป็นการสร้างสมดุลให้เกิด ขึ้นกับวิถีชีวิตและโลกใบนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกองค์กร และบุคคล ต้องตระหนักและเตรียมการ ซึ่งการสร้างความรู้ เข้าใจเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น ต้องมีการวางแผนดำเนินการและสื่อสารอย่างทั่วถึง รวมถึงการสร้างความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่จะช่วยให้คนไทยได้เข้าใจวิถีความยั่งยืนและนำพา ให้พึ่งพาตนเองได้”

โครงการ ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชาจัดโดย ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด สำนักโครงการและจัดการความรู้ (OKMD) มูลนิธิธรรมดี กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมนักเรียนเก่า AFS ประเทศไทย คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ และบริษัท จำกัด (มหาชน) สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดรหัสพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการทรงงานเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้มีความสุขและมีความเป็นอยู่ที่ดี อีกทั้งยังเพื่อสนองตามพระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 “เราจะสืบสาน ต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ทิพยสืบสาน รักษา ต่อยอด นวัตกรรมศาสตร์พระราชา ครั้งที่ 26 เตรียมลงพื้นที่ ในโครงการพระราชดำริ ระหว่างวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2566 หน่วยงานหรือองค์กรที่สนใจร่วมเรียนรู้นวัตกรรมศาสตร์พระราชา สามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธิธรรมดี เว็บไซต์ http:/www.do-d-foundation.com ตามรอยพระราชา – The King’s Journey Facebook: มูลนิธิธรรมดี และ LINE Official: @dfoundation