วันเสาร์, 27 กรกฎาคม 2567

คณะวิศวะฯ มช. ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จัดแห่งขันหุ่นยนต์รอบคัดเลือกภาคเหนือ หาแชมป์แข่งต่อที่ญี่ปุ่น

03 มิ.ย. 2018
1350
Social Share

คณะวิศวะฯ มช. ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ จัดแห่งขันหุ่นยนต์รอบคัดเลือกภาคเหนือ หาแชมป์แข่งต่อที่ญี่ปุ่น

RDC 2018 รอบคัดเลือกภาคเหนือ จัดขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) โดยการสนับสนุนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท ทิพย์พัฒน อาร์เขต จำกัด และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เแข่งขันภายใต้โจทย์เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนระดับอุดมศึกษา หรืออาชีวะศึกษาใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ความสามารถด้านวิทยาการหุ่นยนต์รวมถึงระบบอัตโนมัติ อันเป็นการสร้างบุคลากรรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร การแพทย์ การทหาร การบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการวางแผน ออกแบบการทำงานอย่างเป็นระบบ

 

ตลอดจนให้โอกาสเยาวชนในภูมิภาคได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะ ความคิดในเวทีระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ โดยในปีนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขั้นทั้งหมด 72 คน จาก 14 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวิทยาเขตพิษณุโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาวิทยาเขตภาคพายัพ

พร้อมด้วยวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ วิทยาลัยเทคนิคสารภี วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ วิทยาลัยเชียงราย มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งกลุ่มนักศึกษาแต่ละทีมโดยจับฉลากคละกันทุกสถาบัน ตั้งชื่อทีมภายใต้ Theme “ของกิ๋นบ้านเฮา”


ขณะเดียวกัน ยังมีการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ (หุ่นยนต์) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา DIY Robot Project (DRP) ครั้งที่ 1 จัดโดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการออกแบบสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ขึ้นด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาตามที่กำหนด ตลอดจนฝึกการทำงาน ประสานงานกับผู้อื่นอันเป็นทักษะจำเป็นสำหรับวิศวกร

ทั้งยังเป็นแนวทางเพื่อการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีนักเรียนร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 48 คน จาก 5 สถาบัน ได้แก่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนวารีเชียงใหม่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนดาราวิทยาลัย และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ใช้วิธีแบ่งทีมโดยการจับฉลากเช่นเดียวกับ RDC  โดยการแข่งขั้นทั้งสองรายการดำเนินขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 28 พฤษภาคม 2561 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

ผลการแข่งขัน DIY Robot Project (DRP) ทีมชนะเลิศ ได้แก่ “แคบหมู” สมาชิกประกอบด้วย นายพิจักษณ์ รัตนวรากุล นายชนพัฒน์ ดวงพิกุล (มงฟอร์ตวิทยาลัย) นายธนทัต อุตมงค์ (ดาราวิทยาลัย) นางสาวภัทรศยา สินธุบุญ (ยุพราชวิทยาลัย) นายสุธี ตั้งตระกูล นายศุภเศรษฐ์ เอ็งไพบูลย์ (สาธิต มช.) นายณัฐพงค์ ทุ่งอ่วน นายภูมิพัฒน์ แม้นสุวรรณ (วารีเชียงใหม่)

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ “เซียงดาผัดไข่” สมาชิกประกอบด้วย นายนิธิกานต์ กัปกัลป์ นายกิตติภัฏ เดชกุล (มงฟอร์ตวิทยาลัย) นายศุภวิชญ์ กันทะพรหม นางสาววีริศรา เพชรคชสิทธิ์ (ดาราวิทยาลัย) นายนันทชาติ ชุติมา นางสาวกฤตพร แก้วปิยรัตน์ นายเธียร สุวรรณกุล (สาธิต มช.) นางสาวมัลลิกา ไชยประดิษฐ์ (วารีเชียงใหม่)

รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม “ข้าวจี่” สมาชิกได้แก่ นายพีรณัฐ กีฬาแปง (มงฟอร์ตวิทยาลัย) นางสาวชวัลรัตน์ ผ่องใส (ดาราวิทยาลัย) นายการิน บุญยืน (ยุพราชวิทยาลัย) นางสาวณัฏกมล โตอนันต์ นายกฤษฎาง คงเมือง (สาธิต มช.) นายณัฐภัทร ญาติฝูง นายนันทิภาคย์ ทาทอง นายศุภวิชญ์ ศรีปุงวิวัฒน์ (วารีเชียงใหม่)

ส่วนการแข่งขัน RDC 2018 รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม“น้ำพริกแดง” ประกอบด้วย นายบัญญัติ ฝักฝ่ายธรรม(มช.) นายณัฐกรณ์ พิสปิงคำ (มทร.ล้านนา ลำปาง) นายณัฐพงค์ ศรีบรรเทา (มทร.ล้านนา พิษณุโลก) นายศุภกิจ ติดรักษ์ (วิทยาลัยเชียงราย) นายเทพพิทักษ์ ชุตินทราศรี (วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) นายสมบูรณ์ แซ่ฟ้า (วิทยาลัยเทคนิคสารภี)

รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม “แกงอ่อม” สมาชิก นางสาวอริศรา สุรีย์ (มช.) นายวีรยุทธ บัวเพชร (มทร.ล้านนา) นายณัฐพงษ์ น้อยเครือ (มทร.ล้านนา พิษณุโลก) นายวีรวัฒน์ เข็มทิศ (วิทยาลัยเชียงราย) นายธนภณ ธนชาติไพศาล (วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่) นายภูษิต อัมพรสว่าง (วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา)

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ “แกงแค” ประกอบด้วย นายนรเทพ เมืองอุดม (มช.) นายจตุรพัฒน์ จิตเทพ (มทร.ล้านนา ลำปาง) นายธรรมรัตน์ ผมขาว (ม.นอร์ท-เชียงใหม่) นายปัณณวัฒน์ ทะนันไชย (ม.นเรศวร) นายสิทธิศักดิ์ ตนเล็ก (วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา) และนายเอกชัย เขียนสาร (ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์) ทั้ง 3 ทีมได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งต่อระดับประเทศในวันที่ 4 – 23 มิถุนายน 2561 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะได้ผู้ชนะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อระดับนานาชาติในวันที่ 6-18 สิงหาคม 2561 ณ ประเทศญี่ปุ่นต่อไป

เรื่องมาใหม่