ปศุสัตว์แม่ฮ่องสอน เตือน เฝ้าระวังโรคโรคแอนแทรกซ์ พร้อม แนะแนวทางป้องกันโรค
วันที่ 3 พฤษภาคม 2568 นายสมพงษ์ พิพัฒนพงค์ชัย ปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน กรมปศุสัตว์ มีมาตรการเข้มงวดเฝ้าระวังป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในโค กระบือ แพะ แกะ เนื่องจากมีรายงานสถานการณ์โรคฯ ในประเทศไทย โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ว่าในขณะนี้พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคแอนแทรกซ์ที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 1 ราย ผู้ป่วยมีประวัติชำแหละและรับประทานเนื้อโคดิบ สำหรับสถานการณ์โรคแอนแทรกซ์ในโค กระบือ แพะ แกะ พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังไม่พบผู้ป่วย
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสปอร์ของเชื้อมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และสามารถก่อให้เกิดโรคได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายปี แหล่งรังโรคหลักของเชื้อ คือ สัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ และแกะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้โดยตรง การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น การชำแหละเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก หรือการสัมผัสกับหนังสัตว์หรือขนสัตว์ที่มีเชื้อ
ทั้งนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัส โค กระบือ แพะ แกะ ล้างมือชำระร่างกายหลังสัมผัสสัตว์ เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรอง อาหารปลอดภัย หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติ ห้ามเปิดผ่าซาก ห้ามเคลื่อนย้ายซากหรือชำแหละเพื่อการบริโภค ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ หรือปศุสัตว์จังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที
Cr. สุกัลยา / แม่ฮ่องสอน
เรื่องมาใหม่
- แม่ฮ่องสอน ชุมชนยลวิถีบ้านต่อแพ ถ่ายทอดภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น แก่เด็ก เยาวชน สืบสานสิ่งดีงามและวิถีชีวิต ต่อยอดสร้างรายได้
- ลุยกันต่อ รอไม่ไหว 3 เส้นทาง 7 จุด อบต.แม่สามแลบ จับมือ ชาวบ้านเดินหน้าช่วยกันซ่อมแซม สู่เส้นทางความปลอดภัย
- อช.สาละวิน จับกุมผู้ต้องหาล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ พร้อมตรวจยึดอาวุธปืน ซากรอก สัตว์ป่าคุ้มครอง 6 ซาก ดำเนินคดี
- ทต.เมืองยวมใต้ ร่วมกับ สะพานบุญครูหนึ่ง มอบเตียงไฟฟ้า และ เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ป่วยติดเตียง
- ป้องกันไว้ก่อน อบต.แม่สามแลบ ชาวบ้านขนดินหินปิดร่องลึกเพื่อการสัญจรที่ปลอดภัย เตือนไม่จำเป็นขอให้เลี่ยงเดินทาง