กระทรวงศึกษาธิการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “บัณฑิตพันธุ์ใหม่ราชมงคลล้านนา” ย้ำต้องสร้างยอดฝีมือแรงงานที่เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ต้องมีนวัตกรรมและงานวิจัยที่ทรงคุณค่า
1 มีนาคม 2562 : รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานของ “หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ” กลุ่มอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์อัจฉริยะซึ่งมทร.ล้านนา ได้ร่วมกับ บริษัท ฟูจิคูระ อิเลกทรอนิกส์(ประเทศไทย)จำกัด แก่รองศาสตราจารย์ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการพร้อมคณะ ในโอกาสเดินทางมาตรวจเยี่ยมสถานที่การจัดการเรียนการสอนในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะและ ศักยภาพสูง สำหรับการทำงานใน อุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) ของประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือของสถานศึกษาและสถานประกอบการโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตบัณฑิต และสร้างต้นแบบของหลักสูตรและการเรียนการสอน ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระและกระบวนการจัดการเรียนการสอน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติในสภาพจริงเป็นสำคัญ
รศ.นพ.ปรีชา สุนทรานันท์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า “หัวใจของการศึกษาในหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่คือการเรียนรู้ที่ได้ปฏิบัติจริงและการได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญจากผู้ที่มีความรู้อย่างแท้จริง การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและสถานประกอบการทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ไม่ได้ทำหน้าที่ในการสอนเพียงอย่างเดียวแต่ยังทำหน้าที่ของการเป็น Coach ให้แก่นักศึกษาด้วยในส่วนของหลักสูตรการเรียนอาจจะมีการปรับปรุงร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและประสิทธิภาพของผู้เรียนอย่างสูงสุด โดยความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายยังจะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยอันทรงคุณค่า เพราะเป็นผลงานที่เกิดจากบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ซึ่งได้กลั่นกรองและเรียบเรียงจากการทำงานอย่างแท้จริงและจะสร้างคุณค่าให้สถานประกอบการและมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ต้องขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่สามารถตอบโจทย์ของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดี ขอชื่นชมการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและบริษัทฟูจิคูระที่ได้ดำเนินการร่วมกันสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่จนเกิดผลเป็นรูปธรรม”
สำหรับ โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ของ มทร.ล้านนา นั้น ดำเนินโครงการในสองรูปแบบได้แก่แบบมีปริญญา เปิดสอนใน 7 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมการผลิต ร่วมกับบริษัท BDI Group หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ร่วมกับ BEtagro หลักสูตรวิศวกรรมอิเลกทรอนิกส์ ร่วมกับ Oon Valley หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ร่วม บริษัท อนัตตา กรีน จำกัด หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ร่วมกับ บริษัท ฟูจิคูระ หลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ร่วมกับ สตาร์โฮลดิ้งกรุ๊ป และบริษัท อาทิตย์จักรกล จำกัด และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบูรณาการ ร่วมกับบริษัทสยามมิชลิน จำกัดและบริษัทอนัตตากรีน จำกัด
โดยดำเนินการแล้วในปีการศึกษา 2561 มีนักศึกษาร่วมโครงการทั้งสิ้น 101 คน แบบที่สองโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่แบบไม่มีปริญญา ได้แก่ หลักสูตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท ธนภักดี จำกัด มีนักศึกษาจำนวน 30 คน หลักสูตรอิเลกทรอนิกส์เกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับศูนยห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเชีย มีนักศึกษา จำนวน 30 คน โดยทั้งสองหลักสูตรดำเนินการแล้วในปีการศึกษา 2561ส่วนในอีกสองหลักสูตรได้แก่หลักสูตรซ่อมอากาศยานและการจัดการบริการภาคพื้นธุรกิจการบินและหลักสูตรเกษตรอุตสาหกรรม อยู่ในระหว่างดำเนินการ
เรื่องมาใหม่
- AIS เปิดภารกิจแห่งชาติ ‘JUMP THAILAND 2021’ by AIS NEXT ร่วมแก้วิกฤติรอบตัว พร้อมชี้เมกะเทรนด์ใหม่ 2021
- เอไอเอส ไล่ล่ามิจฉาชีพออนไลน์ เปิดเพจหลอกขายซิมประชาชน ยืนยันหากตรวจพบจะดำเนินคดีขั้นสูงสุด
- สุดยอด สองหนุ่มพี่น้อง สร้างชื่อให้แก่ชาวเชียงใหม่ ในเวทีแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก เป็นของขวัญในปีใหม่ไทยและปีใหม่จีน
- ผบ.หน่วยทหารพัฒนาตรวจเยี่ยมให้โอวาทกำลังพล
- SUN แรงไม่หยุด ทุ่มงบ 125 ล้าน ซื้อที่ดิน 1,007 ไร่ รองรับการปลูกวัตถุดิบ