ไฟป่าแม่ฮ่องสอนเริ่มเกิดขึ้นแล้ว โดยพบว่า จุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 มกราคม 2567 จำนวน 15 จุด สูงสุดที่อำเภอแม่ลาน้อย จำนวน 6 จุด โดยเกิดขึ้นสูงสุดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 11 จุด
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 นายอาคม บุญโนนแต้ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 17.00 น. พันเอก สุรศักดิ์ สุขแสง ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 เดินทางเข้ามาตรวจติดตามศูนย์สั่งการเเละติดตามสถานการณ์ไฟป่าเเละหมอกควัน (war Room ) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน เพื่อเตรียมความพร้อมมาตราการเฝ้าระวังไฟป่า ประจำปี 2567 ณ ห้องประชุมศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน
โดยพบว่าสถานการณ์ไฟป่าในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เริ่มเกิดไฟป่าขึ้นมาแล้ว 15 จุด ตั้งแต่ 1-8 มกราคม 2567 พบมาในพื้นที่เขตป่าสงวนของกรมป่าไม้ ขณะที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน พื้นที่ที่เคยเกิดไฟป่าสูงสุด เร่งประชาสัมพันธ์ ให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว ที่สัญจรไป-มา ผ่านด่านตรวจเขตฯ สาละวิน
สำหรับสถานการณ์ไฟป่าในปีนี้ ได้มีการคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่มีความร้อนเร็วกว่าปกติ และสภาพอากาศหนาวเย็นที่ไม่ค่อยหนาวเหมือนปีที่ผ่านมา จะส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งมากกว่าปกติ ทั้งนี้พบว่า ใบไม้ในป่าเริ่มเปลี่ยนสีและผลัดใบร่วงหล่นสู่พื้นเร็วมากขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ปริมาณค่าฝุ่นละอองพิษจากควันไฟป่า PM 2.5 ยังอยู่ในภาวะปกติ ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แต่อย่างใดแต่หากเกิดไฟป่าเพิ่มมากขึ้นย่อมส่งผลกระทบและมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างแน่นอน ซึ่งเกิดเป็นประจำทุกปี
Cr. ฉลอง หมั่นสกุล
เรื่องมาใหม่
- แม่สามแลบ ดินหินภูเขาสไลด์ปิดทางถนนหลวงแผ่นดินหมายเลข 1194 (แม่สะเรียง-แม่สามแลบ) รถทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้
- แม่ฮ่องสอน ฝนตกตลอดทั้งคืน ต้นไม้หักโค่นปิดเส้นทางหลวง 108 และ ดินไลด์ปิดเส้นทาง ทางหลวงชนบทสาย 3010 บ้านฮากไม้ใต้ – บ้านช่างหม้อ รถทุกชนิดผ่านไม่ได้
- สสอ.แม่สะเรียง จัดอบรมให้ความรู้แกนนำนักเรียน “ลดนักดื่มหน้าใหม่” ปลูกฝังเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด
- สาละวินเพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง อบต.แม่สามแลบ จัดชุดเคลื่อนที่เร็วระวังทางน้ำ ห่วง 10 หมู่บ้านเสี่ยง
- อำเภอสบเมย จัดโครงการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยว “ดอยพุ่ยโค” ดินแดนทุ่งหญ้าสีทอง วิวทะเลหมอก 360 องศา