สวนเกษตรเกษตรอินทรีย์ ไอเดียเก๋ เปิดให้ท่องเที่ยวแนววิถีเกษตรกับ Young Smart Farmer พร้อมไฮไลท์เก็บดอกเก็กฮวย สวนบัวชมพู ณ จอมคีรี เชียงใหม่
อาชีพในฝันของเยาวชน มีคำถามคำถามหนึ่งเมื่อเราเป็นเด็ก ซึ่งผู้อ่านทุกท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังคำถามหนึ่งว่า โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร? อาจจะมีคำตอบเป็นเสียงสะท้อนมาว่า เป็นครู เป็นหมอ เป็นพยาบาล แต่จะมีสักกี่เสียงที่ตอบว่าอยากเป็น”เกษตรกร”
เกษตรกร หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจกรรมด้านการเกษตรไม่ว่า การเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง เป็นการทำงานที่ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาธรรมชาติเพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่เราต้องการ ทั้งแสงแดด ดิน น้ำ อากาศ เพราะฉะนั้นจะเป็นอาชีพที่มีต้องมีความอดทน ขยัน หมั่นเพียร ทำให้เป็นอาชีพความเสี่ยงสูง
เพราะเราต่างรู้ดีว่าไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้ แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างเกื้อกูลกัน โดยที่ผ่านมานั้นสัดส่วนของผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตรที่เป็นคนรุ่นใหม่ อายุประมาณ17-45 ปี นั้นลดลงอาจเป็นเพราะเป็นงานที่เหนื่อยยากต้องพึ่งพาธรรมชาติ รายได้น้อยไม่แน่นอน และไม่มีสวัสดิการที่มั่นคงจึงทำให้คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันไม่สนใจงานภาคเกษตร
นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ขับเคลื่อนนโยบาย ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (ปี2560-2579) เรื่องการส่งเสริมความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกร และองค์การเกษตรกรโดยพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ Smart Farmer ที่มีความรู้ความสามารถในการผลิต บริหารจัดการ และการตลาด มีทักษะ ใช้เทคโนโลยีเหมาะสมสามรถปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ร่วมบูรณาการกับทุกภาคส่วน และเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆได้ อย่างภาคภูมิในอาชีพเกษตรเพื่อขับเคลื่อนการเกษตรสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างเช่นเกษตรกรกลุ่ม Smart Farmer และ Young Smart Farmer ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) สวนบัวชมพู ณ จอมคีรี ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
โดยมีคุณศรัณยา กิตติคุณไพศาล หรือ พี่แหม่ม ที่เป็นเกษตรกรตัวอย่างของศูนย์(ศพก.)ที่ ประกอบกิจกรรมด้านการเกษตรระบบอินทรีย์ ในพื้นที่ประมาณ 80 กว่าไร่ โดยกิจกรรมหลากหลายแต่เน้นผลิตโดยวิธีอินทรีย์ เช่นการปลูกสตรอเบอรี่ ปลูกดอกเก๊กฮวย การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ซึ่งผลผลิต สามารถจำหน่ายได้กิโลกรัมละประมาณ 60 บาทขึ้นไปซึ่งสูงกว่าราคาตลาดในปัจจุบันประมาณเกือบ 10 เท่า มีการตลาดที่มีชื่อเรียกน่ารักๆ การ “ผูกปิ่นโตข้าว”
ซึ่งจะเป็นการตลาดที่ผู้บริโภคจะสามารถสั่งจองผลผลิตได้ตั้งแต่เริ่มปลูกและจะเห็นขั้นตอนการทำการเกษตรแบบอินทรีย์โดยผ่าน แอปพลิเคชั่นระบบสัญณาณโทรศัพท์เอกชน ที่มาติดตั้งในแปลงนา อีกทั้งยังผ่านแอปพลิเคชั่นสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็น line, facebook
ไม่เพียงเท่านี้กิจกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในศูนย์แห่งนี้ยังเป็นน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในการประกอบกิจกรรมต่างๆ อย่างในขั้นตอนการจัดการผลผลิตนั้นข้าวที่ได้แบ่งเป็น ข้าวทำบุญที่วัดต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่ ข้าวทำทานคือมอบให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ข้าวเพื่อบริโภค และข้าวที่เหลือจึงจำหน่าย
ทั้งนี้ทางสำนักงานเกษตรอำเภอเชียงดาว นายสมเกียรติ พานพบ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการรักษาการแทนเกษตรอำเภอเชียงดาวและบุคลากร ได้เป็นหน่วยงานเชื่อมโยงเครือข่าย Young Smart Farmer ที่ศูนย์ศพก. ร่วมแบ่งปัน เรื่องการตลาด องค์ความรู้ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เข้ามาสนับสนุน จึงทำให้ทางกลุ่มสามรถเป็นต้นแบบในเรื่องต่างๆในด้านที่ตนเองมีความรู้ความชำนาญรวมถึงได้ต่อยอด ในเรื่องการท่องเที่ยววิถีเกษตร สำรวจเส้นทางธรรมชาติ วัฒนธรรมที่ชุมชนมีดีอยู่แล้ว
รวมถึงกิจกรรมขั้นตอนการเก็บเกี่ยวข้าวแบบดั้งเดิม เช่น การลงแขกเกี่ยวข้าว การตีข้าว และที่สำคัญ Yong Smart Farmer เหล่านี้ยังเป็นบุคลกรที่ทรงคุณค่าที่ตอบแทนและคืนให้สังคมชุมชนโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆให้กับเยาวชนและบุคคลที่สนใจ ทั้งองค์ความรู้ การปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเป็นดั่งแรงบันดาลใจเปี่ยมด้วยความภาคภูมิใจในอาชีพรวมถึง ความคิด ความฝันให้สังคมได้รู้ว่า อาชีพเกษตรนั้นเป็นอาชีพที่สามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่เกินจะฝันใฝ่ในยุคไทยแลนด์ 4.0ต่อไป
นอกจากนี้กิจกรรมของศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร สวนบัวชมพู ณ จอมคีรี ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ช่วงฤดูหนาวปี 2560 นี้ได้จัด กิจกรรมเก็บดอกเก๊กฮวย ในระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน -20 ธันวาคม 2560 ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงดาว เบอร์ 053-455177 หรือ คุณศรัณยา กิตติคุณไพศาล เบอร์ 089-9463565
เรื่องมาใหม่
- AIS สนับสนุนการทำงาน กสทช. ตร.สอบสวนกลาง ตร.สอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตร.แห่งชาติ ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์
- พบกลิ่นเน่าฟุ้ง นายอำเภอสบเมย ประสาน นพค.36 ใช้รถแบ็คโฮ 2 คัน ยกแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่ค้นหาผู้สูญหายน้ำป่าไหลหลากพัด
- เจอผ้าถุง ห่างหมู่บ้าน 1 กม. ญาติยันเป็นของผู้สูญหายจากน้ำพัด ทางชุดค้นหาแม่สามแลบ ปูพรหมหน้ากระดานค้นหาซ้ำอีกรอบ
- ยังไร้วี่แวว อบต.แม่สามแลบ สนธิกำลังร่วม ระดมคนหาผู้สูญหายจากน้ำป่าพัด เร่งตามลำห้วยแม่สามแลบ
- ชลประทานเชียงใหม่ ยืนยันฝายดอยน้อยที่มีเศษขยะจำนวนมากไม่ส่งผลทำให้น้ำท่วมเชียงใหม่ เร่งกำจัดทุกวันไม่มีหยุด