วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

มทร.ล้านนา จัดประชุมออนไลน์ ป้องกันโควิด พร้อมชูผลงานวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ดีเด่น

Social Share

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับภาคีเครือข่าย 10 หน่วยงาน จัดการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 7 CRCI 2021 หัวข้อ “…สู่วิจัยรับใช้สังคม สืบสานล้านนา สร้างมูลค่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม” และ การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมไฟฟ้าครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤษภาคม 2564 ออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Microsoft Teams เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยได้รับเกียรติจาก นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ประธานกรรมการคณะบุคคลปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บรรยายพิเศษ หัวข้อ “อนาคตมหาวิทยาลัยไทยกับการรับใช้สังคมและพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน..”และดร. สมชัย ไทยสงวนวรกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จ ากัด (มหาชน) บรรยายพิเศษ หัวข้อ การพัฒนาบัณฑิตเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แผนยุทธศาสตร์์ภายใต้ไทย แลนด์ 4.0 และการเสวนา บทบาทมหาวิทยาลัยกับการวิจัยและนวัตกรรม รับใช้สังคมและพัฒนาประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ การระบาดของโควิด 19

สำหรับการประชุมดังกล่าว ได้รับความร่วมกับสถาบันภาคีเครือข่ายความร่วมมือ 10 หน่วยงานได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, มหาวิทยาลัยพายัพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก และสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย โดยมีผลรางวัล ดังต่อไปนี้

รางวัลการนำเสนอผลงาน “รางวัลดีเด่น” Best Oral Present Award

  • Session 1 ENG งานวิจัยสาขาวิศวกรรม พลังงานและเทคโนโลยี โดย จิรศักดิ์ ปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา “การพัฒนากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบลำไย กรณีกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านสันกอเก็ต”
  • Session 2 SCI งานวิจัยสาขาวิศวกรรม พลังงานและเทคโนโลยี โดย ทัตพร คุณประดิษฐ์ มหาวทิยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ “ความหลากหลายทางชีวภาพ นิเวศวิทยา และข้อมูลพันธุกรรม ของสาหร่ายขนาดใหญ่ที่กินได้ ในจังหวัดเชียงใหม่”
  • Session 3 (AGRI) งานวิจัยสาขาเทคโนโลยีเกษตร และอาหาร โดย นริศรา วิชิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ “การเอนแคปซูเลชันสารสกัดจากมะเกี๋ยง โดยการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง”
  • Session 4 (BA) งานวิจัยสาขาบริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์ โดย พงศ์ศิริ คำขันแก้ว มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ “อิทธิพลที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานทัศนคติ ที่มีต่อการใช้งานโมบายแบงก์กิ้งแอพพลิเคชั่น ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”
  • Session 5 (ART) งานวิจัยสาขาศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดย ชัยวัฒน์ สุวรรณอ่อน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา “การใช้ภาพในใจ และกระบวนการออกแบบเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อสร้างสรรค์กราฟิกอัตลักษณ์ชุมชน กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ”
  • Session 6 (SE) งานวิจัยรับใช้สังคม, งานวิจัยนวัตกรรมชุมชน โดย โสภิตา สุวุฒโฑ มหาวิทยาลัยมหิดล “การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้านการผลิตสื่อวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อชุมชนและสังคม”
  • Session 7 (R2R) งานประจำสู่งานวิจัย โดย ออมทรัพย์ อินกองงาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา “ปัจจัยพัฒนาด้านเทคโนโลยีสนเทศ และการสื่อสารสำหรับพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่บรรจุใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา”

รางวัลผลงานสร้างสรรค์

  • ประเภทผลงานสร้างสรรค์ (Creative Work) อันดับ 1 โดย พบสันต์ ติไชย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา “มหัศจรรย์ฝ้ายสามสี ของดีบ้านก้อ”
  • ประเภทผลงานสร้างสรรค์ (Creative Work) อันดับ 2 โดย พัชราภา ศักดิ์โสภิณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา บอร์ดเกมการเรียนรู้ “การอ่านภาษาไทย”

รางวัลสิ่งประดิษฐ์

  • ประเภทสิ่งประดิษฐ์ (Invention) อันดับ 1 โดย ศิรินันท์ กุลชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น “ไฮโดรเจลอัจฉริยะซ่อมแซมตัวเอง ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และสมานแผล”
  • ประเภทสิ่งประดิษฐ์ (Invention) อันดับ 2 โดย คณโฑ ปานทองคำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย “นาฬิกาจับเวลา สำหรับทดสอบรีเลย์ป้องกัน”