วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ม.เทคโนราชมงคลล้านนา มอบ 4 นวัตกรรม อุปกรณ์สอนคนพิการทางสายตาให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ

Social Share

ม.เทคโนราชมงคลล้านนา มอบ 4 นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์สื่อการสอนสำหรับคนพิการทางสายตาให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ

13 มิถุนายน 62 : ดร.ยุพดี หัตถสิน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำนักศึกษามอบผลงานวิทยานิพนธ์ 4 ผลงาน (อุปกรณ์สื่อการสอนสำหรับผู้บกพร่อง, พิการทางสายตา) ให้กับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีฯ เป็นตัวแทนผู้ส่งมอบและ นายประมวล พลอยกมลชุณย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดฯ เป็นตัวแทนผู้รับมอบ โดยในปีการศึกษา 2561 นักศึกษาได้จัดทำวิทยานิพนธ์ทั้งหมด 4 ผลงาน ดังนี้

โครงการ 1 “พัฒนาสื่อการสอนลูกโลกสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็น” ผลงานวิทยานิพนธ์ ว่าที่ร้อยตรียุทค์ อ้นน้อย โครงงงาน 2 “พัฒนาสื่อแผนผังคำประพันธ์สำหรับนักรียนที่บกพร่องทางการเห็น” ผลงานวิทยานิพนธ์ นายอิทธิกร คำมูลและนายพิตรพิบูล พงศ์สรรเพชญ โครงงาน 3 “เครื่องทำสื่อรูปเรชาคณิตและอักษรโดยใช้ LED สำหรับนักเที่บกพร่อทงทางการเห็นสายเลือนราง” ผลงานวิทยานิพนธ์ นายสหรัถ รัศมีพรหมและนายวรเมธ กันธิวัง และโครงการ 4 “เครื่องแจ้งสัญลักษณ์อ้างอิงสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อนที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร” ผลงานวิทยานิพนธ์ นายธนกฤต ทาสุวรรณ์และนายทรินทร์ มลิวรรณ

สำหรับโครงงานพัฒนาสื่อการสอนลูกโลกสำหรับนักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็นนี้ จัดทำเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ทางเสียงและช่วยให้นักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็น เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิประเทศและภูมิศาสตร์ของโลก สามารถทราบชื่อประเทศจานวน 24 ประเทศและชื่อมหาสมุทร 6 มหาสมุทร จากเสียงที่กดปุ่มเลือกได้ทั้งภาษาไทยแล้วและภาษาอังกฤษ โดยได้คำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้บกพร่องทางการเห็นจะได้รับ และได้ทำการออกแบบตัวเครื่องให้มีขนาดพอเหมาะต่อผู้ใช้งาน วิธีการคือทำการศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศคือ พื้นที่, จำนวนประชากร, ศาสนา และเมืองหลวงของแต่ละประเทศ เพื่อเพิ่มความสำคัญของแต่ละประเทศ ต่อมาได้ศึกษาข้อบกพร่องของลูกโลกเดิมปรากฏว่าความสูงของตัวลูกโลกมีความสูงน้อยไปสำหรับเด็กนักเรียนจึงคิดค้นวิธีการแก้ปัญหา โดยวิธีการคือใส่ฐานเป็นเหล็กแป๊ปและเพิ่มตัวลูกเลื่อนเพื่อขนย้ายสะดวก ต่อมาเสียงของลูกโลกเบานักเรียนไม่สามารถฟังเสียงได้ทั้งห้อง จึงจะเพิ่มลำโพงเข้าไปอีก 1 ตัว จากเดิมมีลำโพงอยู่ 1 ตัว รวมเป็น 2 ตัว เพื่อให้นักเรียนสามารถฟังเสียงได้ทั่วห้อง ต่อมาลูกโลกหมุนได้เพียง 5 รอบ จึงทำการแก้ไขโดยตัดสายไฟ 220 V ออกและเปลี่ยนเป็น Power Bank แทนสายไฟ และเพิ่ม Bearing เข้าที่แกนบนและแกนล่าง เพื่อให้ลูกโลกหมุนได้โดยไม่ต้องหมุนกลับคืน

ผลการทดสอบโครงงานได้จากแบบประเมินสอบถามอาสาสมัครที่มีสายตาปกติจานวน 32 คน และผู้ที่บกพร่องทางการเห็นจานวน 29 คน โดยประเมิน 3 หัวข้อหลักคือ 1.หัวข้อความสะดวกในการใช้งาน ได้คะแนนร้อยละ 84.96 และร้อยละ 86.42 สำหรับผู้ที่มีสายตาปกติและผู้บกพร่องทางการเห็น 2.หัวข้อการออกแบบ ได้คะแนนร้อยละ 86.17 และร้อยละ 88.01 สำหรับผู้ที่มีสายตาปกติและผู้บกพร่องทางการเห็น 3.หัวข้อความปลอดภัย ได้คะแนนร้อยละ 85.93 และร้อยละ 90.22 สำหรับผู้ที่มีสายตาปกติและผู้บกพร่องทางการเห็น ซึ่งผลลัพธ์โดยรวมปรากฏว่าประสิทธิภาพของโครงงานอยู่ในระดับน่าพอใจ

 

โครงงานการพัฒนาสื่อแผนผังคำประพันธ์สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็น เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ในภาควิชาภาษาไทย และเป็นสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกทักษะในการการสัมผัส มีการใช้ Arduino MEGA 2560 R3 ประมวลผล โดยตรวจสอบสัญญาณที่เข้ามา และตรวจความต้องการของผู้ใช้ในการเลือกใช้ในแต่ละคำประพันธ์จากการกดปุ่มและจะส่งข้อมูลไปยัง Stepper motor drive เพื่อสั่งให้ Stepper motor หมุนวงล้อแผ่นแผนผังคำประพันธ์ตามที่ผู้ใช้เลือก โดยในแผ่นแผนผังคาประพันธ์แต่ละแผ่นจะมีปุ่มกดฟังเสียงชนิดคำประพันธ์ และปุ่มกดฟังเสียงสัมผัสนอก/ ใน โดย Arduino จะรับค่าจากการกดปุ่ม และทำการดึงข้อมูลเสียงจาก DFPlayer แล้วจึงส่งผลลัพธ์ไปขยายสัญญาณโดยใช้ Amplifier และทำการแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงด้วยลำโพง

ผลลัพธ์การทดสอบมาจากอาสาสมัคร 4 กลุ่ม คือ ผลการประเมินจากผู้มีสายตาปกติแบบไม่ปิดตา 32 คน จากผู้มีสายตาปกติแบบปิดตา 32 คน จากผู้บกพร่องทางการเห็นและคุณครู 15 คน และจากผู้ดูแลที่มีสายตาปกติ 16 คน ทั้งนี้ผลลัพธ์การประเมินจากอาสาสมัครทุกกลุ่ม ถูกนำมาทำเป็นค่าทางสถิติอยู่ใน 3 ด้าน คือด้านการออกแบบอยู่ที่ร้อยละ 77.73, ร้อยละ 81.90, ร้อยละ 91.94 และ ร้อยละ 79.69 ตามลำดับ ส่วนด้านความสะดวกในการใช้งานอยู่ที่ร้อยละ 79.88, ร้อยละ 78.81, ร้อยละ 91.88 และ ร้อยละ 82.62 ตามลำดับ และด้านความปลอดภัยอยู่ที่ร้อยละ 80.78, ร้อยละ 82.34, ร้อยละ 93.00 และ ร้อยละ 90.00 ตามลำดับ ซึ่งผลโดยรวมอยู่ในระดับที่ดี

โครงงานเครื่องทำสื่อรูปเรขาคณิต และ อักษรโดยใช้ LED สาหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นสายตาเลือนราง ระดับประถมศึกษาตอนต้น มีการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์อาดูโน่ เมก้า 2560 อา 3 เพื่อเช็คความต้องการของผู้ใช้ในการเลือกปุ่มกดของหมวดหมู่ที่จะแสดงโดยดึงข้อมูลจาก SD Card บนบอร์ดดีเอฟเพลเยอร์มินิก่อนจะแสดงผลลัพธ์ออกทางหน้าจอ LED และทำการขยายสัญญาณคลื่นโดยใช้แอมพลิไฟเออร์แล้วแปลงสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงออกทางลำโพงอย่างสอดคล้องกับรูปสื่อที่แสดงบนหน้าจอ LED

ผลการทดสอบมาจาก 4 กลุ่ม คือ ผู้ดูแล, คนสายตาปกติชาย, คนสายตาปกติหญิง, และผู้บกพร่องทางการเห็น โดยการทดสอบสำหรับผู้มีสายตาปกติแบบปิดตาและไม่ปิดตา แนวทางการ ทดสอบ มีอยู่ 3 มิติ คือ การออกแบบ, ความสะดวกในการใช้งาน, และความปลอดภัย ผลลัพธ์ของการทดสอบในมิติการออกแบบมีการประเมินคะแนนของผู้ดูแลเป็น 85.20%, ของคน สายตาปกติชายแบบปิดตาเป็น 83.20%, ไม่ปิดตาเป็น 85.20%, ของคนสายตาปกติหญิงแบบปิดตาเป็น 82.86%, ไม่ปิดตาเป็น 90%, และของผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น 90% ส่วนผลลัพธ์มิติความสะดวกในการใช้งานมีการประเมินคะแนนของผู้ดูแลเป็น 83.88%, ของคนสายตาปกติชายแบบปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 82.63% และ 84.13% ตามลำดับ ของคนสายตาปกติหญิงแบบปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 88.39% และ 87.05% ตามลำดับ และของผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น 91.88% และส่วนผลลัพธ์มิติความปลอดภัยมีการประเมินคะแนนของผู้ดูแลเป็น 85.50%, ของคนสายตาปกติชายแบบปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 84% และ 85.50% ตามลำดับ ของคนสายตาปกติหญิงแบบปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 89.28% และ 92.86% ตามลำดับ และของผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น 90%

โครงงานเครื่องแจ้งสัญลักษณ์อ้างอิงสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อนที่มีปัญหาด้านการสื่อสารสำหรับเด็กประถมวัย ซึ่งเป็นสื่อเพื่อฝึกทักษะในด้านสัมผัสและฝึกสื่อสารผ่านการใช้สื่อสัญลักษณ์กับครูผู้สอน มีการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์หรือNode MCUประมวลผล โดยตรวจสอบสัญญาณที่เข้ามา และเช็คความต้องการของผู้ใช้ในการเลือกสื่อสัญลักษณ์ที่ติดTags Card ของ RFID นำมาสแกนและทำการดึงข้อมูลไฟล์เสียงจาก MP3-TF-16P โมดูลแล้วจึงส่งผลลัพธ์ ไปทำการแปลงสัญญาณคลื่นให้เป็นสัญญาณเสียงพูดโดยใช้แอมพลิไฟเออร์เป็นตัวขยายเสียงและส่งสัญญาณออกสู่ลำโพง อีกทั้งสามารถแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่มของครูผู้สอนได้

ผลการทดสอบมาจากคน 4 กลุ่ม คือ ผู้ดูแล, คนสายตาปกติชาย, คนสายตาปกติหญิง และผู้บกพร่องทางการเห็น โดยการทดสอบสำหรับผู้มีสายตาปกติแบบปิดตาและไม่ปิดตา แนวทางการทดสอบ มีอยู่ 3 มิติ คือ มิติการออกแบบ, มิติความสะดวกในการใช้งานและมิติความปลอดภัย ผลลัพธ์ของการทดสอบในมิติการออกแบบมีการประเมินคะแนนของผู้ดูแลเป็น 78.18%, ของคนสายตาปกติชายกรณีปิดตาเป็น 76.63%, และไม่ปิดตาเป็น 81.84%, และของคนสายตาปกติหญิงกรณีปิดตาเป็น 79.91%, และไม่ปิดตาเป็น 84.37%, และของผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น 77.14% ส่วนผลลัพธ์มิติความสะดวกในการใช้งานมีการประเมินคะแนนของผู้ดูแลเป็น 84.19%, ของคนสายตาปกติชายทั้งกรณีปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 78.42% และ 83.48% ตามลำดับ ของคนสายตาปกติหญิงทั้งกรณีปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 80.80% และ 83.48% ตามลำดับ และของผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น 75.71% และส่วนผลลัพธ์มิติความปลอดภัยมีการประเมินคะแนนของผู้ดูแลเป็น 89.70%, ของคนสายตาปกติชายทั้งกรณีปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 81.59% และ 85.06% ตามลำดับ ของคนสายตาปกติหญิงทั้งกรณีปิดตาและไม่ปิดตาได้เป็น 84.75% และ 82.29% ตามลำดับ และของผู้บกพร่องทางการเห็นเป็น 83.33% ผลลัพธ์การทดสอบรวมอยู่ในเกณฑ์ดี