วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

เชียงราย ชุมชนชาวมุสลิมปรับตัวยุคโควิด ปรุงอาหารใส่ปิ่นโตแจกแทนจัดเลี้ยงช่วงถือศีลอด

Social Share

ที่ชุมชนกกโท้ง เทศบาลนครเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นชุมชนชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงราย ซึ่งช่วงนี้เป็นนช่วงการถือศิลอด เนื่องในเดือน รอมฎอนเป็นเวลา 30 วัน ทางกลุ่มขาวมุสลิมใน จ.เชียงราย นำโดยนายปรีชา อนุรักษ์ กรรมการอิสลามประจำ จ.เชียงราย ได้รวมกลุ่มกันบริจาคทานเพื่อจัดทำอาหารสำหรับให้ชาวมุสลิมที่ถือศิล ได้บริโภคหลังพระอาทิตย์ตกดิน โดยการปรุงอาหารและแจกจ่ายด้วยปิ่นโตเพื่อให้สมาชิกที่เป็นชาวมุสลิม ผู้ยากไร้ นำไปรับประทานที่บ้านแทนการจัดเลี้ยงด้วยโรงทานตามมัสยิดต่างๆ เหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

โดยทางกลุ่มได้จัดสถานที่มอบปิ่นโตที่บริเวณหน้าร้านโรตีป้าใหญ่ตั้งอยู่ที่ชุมชนกกโท้ง เทศบาลนครเชียงราย อ.เมืองเชียงราย จ.ฌชียงราย โดยแต่ละวันจะมีลูกหลานและคนงานร้านโรตีป้าใหญ่ มาช่วยกันปรุงอาหารเป็นเมนูต่างๆ อย่างหลากหลาย และนำบรรจุในปิ่นโต 5 ชั้นโดยมีข้าว 2 ชั้นและอาหารจำนวน 3 ชั้นเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคในครอบครัว โดยผู้ที่จะเป็นสมาชิกกลุ่มต้องเข้ารับการอบรมด้านการป้องกันไวรัสโควิด-19 จากนั้นมีการลงทะเบียนและมอบหมายเลขปิ่นโตให้เพื่อให้แต่ละคนได้ไปรับปิ่นโตในช่วงเวลาประมาณ 16.00 น.ของทุกวันอย่างถูกต้องและ นำปิ่นโตมาคืนในวันถัดไป

นายปรีชา กล่าวว่าตามปกติพวกเราก็จะมีทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นประจำทุกเดือน โดยเฉพาพในช่วงเดือนรอมฎอน จะทำกันทุกวัน แต่เนื่องจากช่วง 1-2 ปีนี้เกิดวิกฤติไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาการนั่งรับประทานรวมกลุ่ม จึงได้คิดค้นการนำปิ่นโตมาใช้ประโยชน์และได้รับการสนับสนุนจากร้านโรตีป้าใหญ่ในการรับเป็นสถานที่และคนปรุงให้ จึงทำให้ไม่ต้องเสียต้นทุนมากและมีค่าใช้จ่ายเพียงการจัดหาซื้อวัตถุดิบต่างๆ มาทำการปรุงเท่านั้น จากการสอบถามไปยังจังหวัดอื่นๆ รวมถึงกรุงเทพฯ ก็ไม่เคยพบเห็นพื้นที่ใดใช้วิธีการนี้มาก่อนเลย พวกเราจึงถือเป็นกลุ่มบุกเบิกซึ่งทุกพื้นที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบได้

“ปัจจุบันมีผู้ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกรับปิ่นโตจำนวน 110 คน ต้องทำอาหารสำหรับปิ่นโตจำนวน 110 ปิ่นโตต่อวัน รวมระยะเวลาในการจัดทำอาหารใส่ปิ่นโตจำนวน 30 วัน ซึ่งหลังจากดำเนินการมาได้หลายวันพบว่าได้ผลเป็นอย่างดีและผู้ไปรับก็ได้ความรู้เรื่องไวรัสโควิด-19 มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มาให้บริการคัดกรองก่อนรับอาหาร และอาหารที่ได้ถือว่าให้มากสามารถนำไปรับประทานร่วมกับคนในครอบครัวได้ซึ่งดีกว่าการจัดเลี้ยงเป็นโต๊ะซึ่งสมาชิกในบ้านบางคนอาจจะไม่เวลาไปรับประทานได้ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นก็มีผู้บริจาคกันเข้าไปอย่างเพียงพอหรือแม้แต่สมาชิกที่ไปรับปิ่นโตก็ร่วมสมทุบทุนไปด้วย เฉลี่ยค่าใช้จ่ายวันละประมาณ 20,000 บาทแต่ก็ถือว่าได้ผลดีเป็นอย่างมากและหลังเดือนรอมฎอนไปแล้วก็คงจะหาโอกาสในการแจกปิ่นโตเช่นนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป