วันจันทร์, 7 ตุลาคม 2567

DIY Robot Project เปิดสนามวิศวฯ มช. ประลองการประดิษฐ์หุ่นยนต์ ระดับ ม.ปลาย

15 มิ.ย. 2018
1191
Social Share

DIY Robot Project เปิดสนามวิศวฯ มช. ประลองการประดิษฐ์หุ่นยนต์ ระดับ ม.ปลาย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดการแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ (หุ่นยนต์) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา DIY Robot Project ครั้งที่ 1 (1st DRP) ระหว่างวันที่ 21 – 29 พ.ค. 61 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการออกแบบสิ่งประดิษฐ์หุ่นยนต์ขึ้นด้วยตนเอง เพื่อแก้ปัญหาตามที่กำหนด ตลอดจนฝึกการทำงาน ประสานงานกับผู้อื่นอันเป็นทักษะจำเป็นสำหรับวิศวกร ทั้งยังเป็นแนวทางเพื่อการศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์

โดยมีนักเรียนร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 48 คน จาก 5 สถาบัน ได้แก่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย โรงเรียนวารีเชียงใหม่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงเรียนดาราวิทยาลัย และโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ใช้วิธีแบ่งทีมโดยการจับฉลากคละกันทุกสถาบัน

ผลการแข่งขันรอบตัดเชือกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ทีมชนะเลิศ ได้แก่ “แคบหมู” สมาชิกประกอบด้วย นายพิจักษณ์ รัตนวรากุล นายชนพัฒน์ ดวงพิกุล (มงฟอร์ตวิทยาลัย) นายธนทัต อุตมงค์ (ดาราวิทยาลัย) นางสาวภัทรศยา สินธุบุญ (ยุพราชวิทยาลัย) นายสุธี ตั้งตระกูล นายศุภเศรษฐ์ เอ็งไพบูลย์ (สาธิต มช.) นายณัฐพงค์ ทุ่งอ่วน นายภูมิพัฒน์ แม้นสุวรรณ (วารีเชียงใหม่)

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ “เซียงดาผัดไข่” สมาชิกประกอบด้วย นายนิธิกานต์ กัปกัลป์ นายกิตติภัฏ เดชกุล (มงฟอร์ตวิทยาลัย) นายศุภวิชญ์ กันทะพรหม นางสาววีริศรา เพชรคชสิทธิ์ (ดาราวิทยาลัย) นายนันทชาติ ชุติมา นางสาวกฤตพร แก้วปิยรัตน์ นายเธียร สุวรรณกุล (สาธิต มช.) นางสาวมัลลิกา ไชยประดิษฐ์ (วารีเชียงใหม่) และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม “ข้าวจี่” สมาชิกได้แก่ นายพีรณัฐ กีฬาแปง (มงฟอร์ตวิทยาลัย) นางสาวชวัลรัตน์ ผ่องใส (ดาราวิทยาลัย) นายการิน บุญยืน (ยุพราชวิทยาลัย) นางสาวณัฏกมล โตอนันต์ นายกฤษฎาง คงเมือง (สาธิต มช.) นายณัฐภัทร ญาติฝูง นายนันทิภาคย์ ทาทอง นายศุภวิชญ์ ศรีปุงวิวัฒน์ (วารีเชียงใหม่)

นอกจากนี้นักเรียนที่ร่วมแข่งขันทุกคนยังได้รับใบประกาศนียบัตรนำไปใช้เป็น Portfolio ยื่นต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อพิจารณารับเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป

เครดิตภาพ-ข่าว : คณะวิศวกรรมศาสตร์

เรื่องมาใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ไมโครชิพ ช่วยนักพัฒนาเร่งการออกแบบโหนด IoT ระยะไกล ด้วยผลิตภัณฑ์ตระกูล LoRa(R) System-in-Package ที่ใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
Infineon เปิดตัวชุดซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สสำหรับ TPM 2.0 เพิ่มความปลอดภัยการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมและยานยนต์
“MI SHOP by แม่วังสื่อสาร” เปิดแล้ววันนี้ ที่เซ็นทรัล แอร์พอร์ต
“วิศวกรรมแห่งชาติ 2561” ร่วมโชว์นวัตกรรมวิศวกรรม เพื่อให้คนไทยก้าวทันเทคโนโลยีและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดแก่สังคมไทย
วสท. เปิดงาน ‘วิศวกรรมแห่งชาติ 2018’ อย่างยิ่งใหญ่
ไซปรัสจับมือ VeChain Foundation และ CREAM พัฒนาฟินเทคและบล็อกเชนในไซปรัส