วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

รมว.อุดมศึกษาฯ ทุ่มงบ 200 กว่าล้านสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านควอนตัม แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

30 ส.ค. 2019
1032
Social Share

อนาคตทุกอย่างอาจถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ รมว.อุดมศึกษาฯ ทุ่มงบ 200 กว่าล้านสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านควอนตัม แห่งแรกที่เชียงใหม่ ดีเดย์ ปี 2563 ระดมนักวิจัยฟิ สิกส์วิศวกรรม วิศวกร นักเทคโนโลยีควอนตัม ระดับหัวกะทิเข้าร่วมเป็นทีมนักวิจัยระดับประเทศ เพื่อก้าวสู่ระดับโลก และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน รวมถึงการสร้างผลตอบแทนเชิงพาณิชย์

30 สิงหาคม 2562 : ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำคณะผู้บริหารและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่รับฟังการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และบทบาทในการพัฒนาภูมิภาค โดยร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางการนำองค์ความรู้สหสาขาของมหาวิทยาลัย อันประกอบด้วย สาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ สังคมและมนุษยศาสตร์ มาเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ จาก ศ.คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องตะวัน กังวานพงศ์ สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมเยี่ยมชมศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านควอนตัม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้นแบบและนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (deep technology) ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน เป็นรากฐานแกนกลางของการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกสาขาอย่างก้าวกระโดดในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์ในอนาคต

ดร.สุวิทย์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีควอนตัม เป็นเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21 ที่โลกกำลังให้ความสนใจ เพราะทุกอย่างในอนาคตจะถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แม้แต่รถยนต์ในอนาคตต้องควบคุมด้วยเทคโนโลยี ไม่ใช่น้ำมันอีกต่อไป ดังนั้น ประเทศไทย ต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือ เพราะในอนาคตเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาในชีวิตของเราอย่างเต็มตัว ประเทศไทย จะต้องมีสถาบันเทคโนโลยีควอนตัมระดับชาติ เพื่อสร้างระบบนิเวศควอนตัมที่สมบูรณ์ ภายใต้เครือข่ายของนักวิจัย นักเทคโนโลยี และการลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมผ่านการประสานงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ต่างๆ

ล่าสุดได้ทุ่มงบประมาณ 200 ล้านบาท สร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัม ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นโดยมีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศ ทั้งในแง่ความรู้ฐานราก ในแง่การตื่นตัวและโอกาสของทุนสมองรุ่นใหม่ และในแง่ศักยภาพของการพึ่งพาตนเองในด้านวิจัยและพัฒนา อันจะนำไปสู่เป้าประสงค์หลัก คือ การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อนำประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางด้วยระบบเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมระดับสูง

ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ประเทศไทย มีจำนวนนักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ซึ่งรวมถึงนักเรียนทุนโอลิมปิกฟิสิกส์ที่ได้รับการฝึกทักษะด้านเทคโนโลยีควอนตัมในต่างประเทศได้กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทยแล้วกว่า 16 คน นอกจากนี ยังมีนักวิจัยหลังปริญญาเอกและนักวิจัยที่กำลังศึกษาอยู่ต่างประเทศอีกจ านวนกว่า 21 คน ทั้งนี้ หากนับรวมนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอกภายในประเทศด้วย ตัวเลขนักวิจัยควอนตัมในประเทศไทยจะเกินกว่า 50 คน จำนวนนี้ถือว่าเพียงพอที่จะเป็นบ่อเกิดของกระบวนการรังสรรค์นวัตกรรมฐานเทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทย

โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัม ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือว่ามีความสมบูรณ์และความพร้ อม เป็นที่รวบรวมบุคลากรที่เก่งด้านฟิ สิกส์เป็นจำนวนมาก มีขีดความสามารถเชิงการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ควอนตัมที่โดดเด่น อีกทั้งยังได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีการทดลองและอุปกรณ์วิจัยมากมายเป็นของตนเอง มีความสามารถในการถ่ายโอนเทคโนโลยีดังกล่าวสู่ห้องวิจัยเกิดใหม่ทั่วประเทศ

ด้าน ผศ.ดร.วรานนท์ อนุกูล หัวหน้าห้องปฎิบัติการวิจัยทัศนศาสตร์เชิงอะตอมควอนตัมและอาจารย์ประจ าภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อสร้างต้นแบบและนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง (deep technology) ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน รวมไปจนถึงการสร้างผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ ตลอดจนธุรกิจบ่มเพาะอันอาจจะเกิดขึ้นจากต้นแบบนวัตกรรมนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมควอนตัมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการเตรียมพร้อมการสถาปนาสถาบันเทคโนโลยีควอนตัมระดับชาติในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะเป็นรากฐานแกนกลางของการพัฒนาเทคโนโลยีในทุกสาขาอย่างก้าวกระโดดในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างมั่นคงยั่งยืนในอนาคต โดยเริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

ด้วยงบการลงทุนเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 100 ล้านบาท ผนวกกับแผนงานด้านกำลังนักวิจัยฟิ สิกส์วิศวกรรมวิศวกร และนักเทคโนโลยีควอนตัม จำนวนมากถึง 17-20 อัตรา จะทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประโยชน์จากงานวิจัยควอนตัมของประเทศไทยที่สามารถดำเนินการได้ทันที

ผศ.ดร.วรานนท์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญ เทคโนโลยีควอนตัม ได้ส่งเสริมและสร้ างแพลตฟอร์มการทำงานให้กับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างภาคมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม มาระยะหนึ่งแล้วในการสนับสนุนให้เทคโนโลยีควอนตัมสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้ างขีดความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น การส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ใช้นวัตกรรมในการสร้างงาน เป็นต้น