วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

ชาวบ้านนาเลา เชียงดาว บุกยื่นหนังสือศูนย์ดำรงธรรม ให้ช่วยเหลือไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องทำโฮมสเตย์

Social Share

ช่วงเช้าวันนี้ (6 พ.ย. 62) ที่ศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นางสาวภัทรวดี เลายี่ปา ได้นำตัวแทนของกลุ่มชาวบ้านเดินทางมาถือป้ายและยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมให้กับชาวบ้าน บ้านนาเลาใหม่ เพราะเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นทะเบียนก่อนประกาศเป็นพื้นที่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี พ.ศ.2535 และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากภาครัฐ เรื่องการอนุญาติทำโฮมสเตย์

สำหรับบ้านนาเลาใหม่ หมู่ที่ 10 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซู ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานานกว่า 70 ปี และได้ขึ้นทะเบียนเป็นหมู่ที่ 10 ของตำบลเชียงดาว ก่อนประกาศเป็นพื้นที่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี พ.ศ.2535

ในระยะ 5 – 6 ปีที่ผ่านมา ชาวบ้านเริ่มทำกิจการบ้านพักโฮมสเตย์ในพื้นที่ของตน ด้วยเพราะภูมิประเทศบ้านนาเลามีความสวยงาม อีกทั้งวัฒนธรรมของชนเผ่าน่าสนใจ ทำให้บ้านนาเลาใหม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจชาวบ้านทุกครัวเรือน ทางชาวบ้านจึงมาประกอบอาชีพทำบ้านพักโฮมสเตย์ ทดแทนการทำไร่ลดปัญหาการตัดไม้เพื่อบุกเบิกพื้นที่ทำกิน เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559 ได้มีคำสั่งให้รื้อถอนบ้านพัก เหลือบ้านเลขที่ละ 2 หลัง กางเต็นท์ 4 หลัง ภายหลังการรื้อถอนดังกล่าว สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านทุกราย

ปัจจุบันได้มีการเข้ามาควบคุมจัดระเบียบของเจ้าหน้าที่อีก และได้มีคำสั่งปิดหมู่บ้านนาเลาใหม่ ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพักหรือแวะชม ทำให้มีความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีการอนุญาตให้ทำกิจการได้เพียง 17 ราย จากที่เคยทำความเข้าใจว่า 1 บ้านเลขที่ ทำบ้านพักได้ 2 หลัง กางเต็นท์ 4 หลัง ซึ่งชาวบ้านที่เหลือภายในหมู่บ้านมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะถูกลิดรอนสิทธิ์ ไม่ได้รับสิทธิ์เหมือนคนในหมู่บ้านเดียวกัน จึงมาร้องเรียนในครั้งนี้

ปัญหาและผลกระทบที่ได้รับภายในหมู่บ้านพร้อมทั้งความต้องการของชาวบ้านในหมู่บ้าน

  1. อยากให้เลิกมติที่ให้สิทธิ์แค่ 17 ราย ปัญหาทุกวันนี้เกิดจากมติข้อตกลงนี้
  2. เรียกประชาคมทั้งหมู่บ้านใหม่เพื่อความเท่าเทียมกันและความยุติธรรมของชุมชนภายในหมู่บ้าน ที่ผ่านมาเขาแอบประชาคมกันเอง ชาวบ้านไม่เห็นด้วย
  3. ทางเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวได้เข้ามาแบ่งแยกชาวบ้านเป็น 2 กลุ่ม
  4. ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีปัญหา ทั้งหมู่บ้านยังสามัคคีกันอยู่ ยังเปิดทำมาหากินกันได้ทั้งหมู่บ้านโดยไม่มีการแบ่งแยก
  5. ตั้งแต่หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวคนนี้เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เลือกปฏิบัติสองมาตรฐาน แบ่งแยกชาวบ้านเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 17 ราย ที่เปิดที่พักโฮมสเตย์ ได้ ส่วนกลุ่มที่ 2 มี 24 ราย ที่ไม่สามารถเปิดที่พักโฮมสเตย์ได้ บอกไม่ถูกต้องทั้งที่อยู่หมู่บ้านเดียวกัน ทำให้คนในหมู่บ้านทะเลาะกันเองแตกแยก ไม่สามารถร่วมกิจกรรมหมู่บ้านด้วยกันได้ เขม่งตาใส่กัน ความสามัคคีของชุมชนหายไป
  6. จากที่เคยประชุมหลายๆ ครั้งก็มีแต่ 17 ราย ชาวบ้านนอกเหนือจาก 17 รายที่ว่านี้ก็ไม่มีสิทธิ์ได้เข้าไปชี้แจงหรือได้เข้ารับฟังใดๆ เลย
  7. ที่ผ่านมาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้ง 24 ราย ได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมหรือขอเหตุผลที่หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เจ้าหน้าที่ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวบอกว่า ทางเขตไม่มีสิทธิ์ตัดสินให้ทางนายอำเภอตัดสิน ไล่ไปหาท่านนายอำเภอเชียงดาว พอไปอำเภอเชียงดาว ทางนายอำเภอเชียงดาวก็บอกว่าไม่มีสิทธิ์ตัดสินโยนกลับไปที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว
  8. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ทางชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันที่ทางเข้าหมู่บ้านเพื่อคัดค้านมติที่ทางหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอนุญาตให้เปิดรีสอร์ทเฉพาะ ที่มีรายชื่อ 17 ราย ท้ายสุดทางเจ้าหน้าที่เขตรักษษพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวได้เชิญชาวบ้านไปเจรจากันในที่ประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงดาว โดยมีนายอำเภอเป็นผู้นั่งในหัวโต๊ะเพื่อเจรจา ผลเจรจาไม่ลงเอย มติที่ประชุมที่ว่าการอำเภอเชียงดาวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ทางหัวหน้าหน่วยเขตอุทยานเชียงดาว หน่วยดอยผาตั้งเชียงดาว-บ้านนาเลา เป็ฯคนแจ้งที่ประชุมว่าไม่ให้รับนักท่องเที่ยวขึ้นไปเข้าพักทั้งหมู่บ้านเริ่มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 เป็นต้นไป ถ้าบ้านไหนหรือโฮมสเตย์รับนักท่องเที่ยวเข้าพักทางเจ้าหน้าที่จะขึ้นไปจับ พอมาวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 ทางหัวหน้าหน่วยเขตอุทยานดอยผาตั้ง-นาเลา ก็บอกว่าหัวหน้าเขตกับทางกรมสั่งให้ลูกค้าเข้าพักได้แค่ 17 โฮมสเตย์
  9. ไม่ให้คนในชุมชนได้ใช้สิทธิ์เท่าเทียมกัน
  10. เจ้าหน้าที่ทางเขตรักษษพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวก็บอกว่าให้ทางกลุ่มชาวบ้าน 17 รายเป็นคนตัดสิน พอไปถามชาวบ้านกลุ่ม 17 ราย ก็บอกว่าให้ทางเขตตัดสิน โยนกันไปโยนกันมา
  11. ปีที่แล้วยังทำมาหากินทั้งหมู่บ้าน พอมาปีนี้เน้นมาแค่ 17 ราย

จากการประชุมในหมู่บ้าน ชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านมีมติร่วมกันว่า จำนวนครัวเรือน (บ้านเลขที่) มีทั้งหมด 34 ครัวเรือน ควรได้มีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการทำกิจการบ้านพักโฮมสเตย์ คือ

  1. อยากขอให้ทุกครอบครัวในหมู่บ้านได้สิทธิ์เท่าเทียมกัน ทำบ้านพักได้ 2 หลัง กางเต็นท์ 4 หลัง
  2. ให้ชาวบ้านประชาคมใหม่ บริหารจัดการกันเองเหมือนที่ผ่านมา
  3. ขอความยุติธรรมการทำมาหากินของชาวบ้านให้บ้านเท่าเทียมกัน

ต่อมา นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับทราบเรื่องจึงได้เดินทางมารับหนังสือจากกลุ่มผู้ชุมนุม พร้อมกับจะได้เร่งตรวจสอบและส่งหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อไป

Cr. Kajohnsak.33