วันพฤหัสบดี, 18 เมษายน 2567

“ไข่”กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้านรวมตัวกันเลี้ยง พร้อมนำมาประมูลขาย 4 ครั้งต่อเดือนสร้างรายได้จำนวนมาก

Social Share

“ไข่” อาหารพื้นบ้านทั่วไปที่ทานกันมาตั้งแต่เด็ก และมีคุณค่าเพราะให้โปรตีนสูง ราคาถูก สามารถพบได้ในห้องครัวตั้งแต่เศรษฐีจนถึงผู้มีรายได้น้อย และปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงไข่ไก่ ฟาร์มเลี้ยงเป็ดไข่ ก็ขยายตัวมากขึ้น เพราะได้ผลผลิตดี ในบางยุคบางสมัย “ไข่” ยังถูกนำไปเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ สำหรับนัการเมืองแต่ละสมัยอีกด้วย ล่าสุดมีการเร่งดำเนินโครงการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร, โครงการ 9101 ในทุกพื้นที่ที่ทำการเกษตร เป็นการพัฒนาเกษตรกรในรูปแบบต่างๆ ให้สามารถทำเกษตรได้อย่างยั่งยืน

เช่นเดียวกันกับที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ได้รวมตัวกันของบสนับสนุนตามโครงการ 9101 จนสำเร็จ พร้อมนำมาประมูลขาย 4 ครั้งต่อเดือนสร้างรายได้จำนวนมาก

นายสมพล เกษตร จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปติดตามและให้นโยบาย พร้อมทั้งรับฟังสรุปผลการดำเนินงานตามที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการตามโครงการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร, โครงการ9101 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและต้องการให้เกษตรกรสามารถทำเกษตรได้อย่างยั่งยืน อยู่ดีกินดี

สำหรับอำเภอดอยสะเก็ดเป็นอำเภอที่มีเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เพราะมีแหล่งน้ำอุดมสมบรูณ์อยู่ภายใต้การจัดสรรน้ำของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ที่หล่อเลี้ยงการเกษตรในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นรายได้จากการทำการเกษตรทางเพียงทางเดียวเกษตรกร

หลังจากว่างเว้นจากการทำนาเกษตรกรจะมีเวลาว่าง กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ ตำบลป่าป้อง จึงคิดโครงเสนอขอรับการสนับสนุนจากโครงการ 9101 “โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่” เกิดขึ้นในหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 8 ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด ซึ่งได้ของบประมาณผ่านสำนักงานเกษตรอำเภอดอยสะเก็ด โดยนางกัลยา ชาติดี เกษตรอำเภอดอยสะเก็ด พร้อมเจ้าหน้าที่บุคคลากรขับเคลื่อนโครงการ ทำให้เกษตรกร 1,800 กว่าครัวเรือน สามารถมีรายได้เสริมจากการเก็บไข่ ขายในตลาดชุมชน และผลพลอยได้จากการเก็บมูลไก่ขายอาทิตย์ละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งต่อเดือน เป็นการลดต้นทุนด้านอาหารเลี้ยงไก่

ปัจุบัน มีไก่สามารถให้ผลผลิตได้ 190 ฟองต่อวัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกทั้งทางกลุ่มยังมีการจัดเวรในการปฏิบัติ ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม จดบันทึกทำบัญชีเพื่อรู้ต้นทุนกำไร และการประชุมพูดคุยเพื่อทำให้กลุ่มเกิดความเข้าใจ ความรักสามัคคีการพัฒนา ช่วยกันคิดช่วยกันทำ ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและและเกิดการสร้างงานสร้างราย ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง