วันพฤหัสบดี, 28 มีนาคม 2567

เกษตรกรแม่วางขายลำไยขาดทุนหันมายึดอาชีพเลี้ยงปลาสะเด็ด (ปลาหมอ) บนพื้นที่แค่ครึ่งงานทำให้ชุมชน มีรายได้กว่า 3 ล้านบาทต่อปี

Social Share

โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี ผลักดันแนวคิดให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ นำมาปรับใช้ จนสร้างรายได้นอกเหนือจากการทำสวนลำไยที่มักขาดทุน ให้มีรายได้จากการเลี้ยงปลาสะเด็ดโต้ (ปลาหมอ) บนพื้นที่แค่ครึ่งงาน มีรายได้ปีละนับแสนบาท และมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่

ช่วงเช้าวันที่ (13 พ.ค. 61) นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ติดตามผลการดำเนินงานและความยั่งยืนของโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน หมู่ที่ 2 บ้านแสนคันธา ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนางกัลยกร สัมโน เกษตรอำเภอแม่วาง จ.เชียงใหม่ และบุคคลากรสำนักงานเกษตรอำเภอให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้อง

อาชีพเกษตรกรรมมีหลากหลายสาขาไม่ว่าปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ล้วนแต่เป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรทั้งในจุลภาค และมหภาคเริ่มตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน แต่ที่สำคัญชุมชนและคนในชุมชนต้องเข้มแข็ง สมัครสมานสามัคคีที่จะร่วมกันพัฒนาโดยมีทางส่วนราชการที่ขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ สู่ชุมชน ดังโครงการ 9101 ตามรอยพ่อภายใต้ร่มพระบารมีอย่างยั่งยืน ที่เป็นโครงการหนึ่งที่กรมส่งเสริมการเกษตรขับเคลื่อนดำเนินงานผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานเกษตรอำเภอแม่วาง ที่ผ่านการวิเคราะห์ชุมชนความต้องการตามสภาพภูมิสังคม

ต่อมาได้พบว่าที่ชุมชนบ้านแสนคันธา หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งรวงทอง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรทำสวนลำไยเป็นส่วนมาก ในพื้นที่มีบ่อน้ำร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ สำหรับแก้ปัญหาในช่วงแล้งเพื่อทำสวนแล้ว เนื่องจากการทำสวนลำไยซึ่งเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มักจะประสบปัญหาราคาผลผลิตเป็นประจำ จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มชาวบ้านจึงร่วมกันเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการดังกล่าวจำนวน 624,812 บาท

ตามโครงการ 9101ฯ เพื่อกิจกรรมการเลี้ยงปลาหมอไทย หรือที่คนทางภาคเหนือเรียกว่า “ปลาสะเด็ด” ดำเนินการโดยกลุ่มเลี้ยงปลาหมอไทย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรในชุมชนอีกทางหนึ่ง โดยดำเนินการเป็นบ่อน้ำขนาดครึ่งงาน มีกระชังปลาจำนวน 4 กระชัง ปล่อยปลาจำนวน 4,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 4-5 เดือนขายได้กิโลละ 80-100 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงในพื้นที่ ทำรายได้เกือบ 50,000 บาทต่อครั้ง

ใน 1 ปี ทางกลุ่มมีแผนการเลี้ยงประมาณ 2 รอบต่อปีเท่าจะมีรายได้ประมาณ 100,000 บาทต่อปี บนพื้นที่ผลิตเพียงครึ่งงาน ซึ่งมีการขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียงกว่า 30 ครัวเรือน ก่อเกิดรายได้กับชุมชนมูลค่ากว่า 3 ล้านบาทต่อปี

นางกัลยกร สมโน เกษตรอำเภแม่วาง ให้ข้อมูลว่า การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเกิดจากความต้องการของชุมชน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานบูรณาการในระดับพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น กรมประมง กรมตรวจบัญชี เป็นต้น และทางกลุ่มยังมีการบริหารจัดการกลุ่มตอบแทนสู่ชุมชน โดยเป็นศูนย์เรียนรู้ , แหล่งอาหารให้กับคนในชุมชนและอำเภอใกล้เคียงเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนต่อไป

เรื่องมาใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ สนับสนุนชาวสวนหอมหัวใหญ่ ทดลองไวรัส NPV กำจัดหนอนกระทู้หอม ทดแทนสารเคมี (มีคลิป)
เกษตรเชียงใหม่ ชวน “ชม ชิม ช็อป สตรอว์เบอร์รี่สะเมิง” พร้อมเตรียมเปิดเทศกาลสตรอว์เบอร์รี่ 6 – 8 ก.พ. นี้ (มีคลิป)
ดีแทคจับมือพันธมิตรรุกภาคเกษตร เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
ครอบครัวหัวใจเกษตร Smart Farmer ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(มีคลิป) นศ.ม.แม่โจ้ทิ้งปริญญาตรี หันมาร่วมกลุ่ม Young Smart Farmer ขายผ่านออนไลน์จนธุรกิจปัง สินค้าไม่พอส่งขาย
(มีคลิป) เชียงใหม่ เปิดงานเกษตรอินทรีย์ วิถีล้านนา อย่างยิ่งใหญ่ เอาใจคนรักพืชผักเกษตรอินทรีย์