วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

เกษตรตำบลไทยหัวใจ 4.0 ทำน้อยได้มาก โชว์ผักคุณค่าเทียบเนื้อสัตว์สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 250,000 บาทต่อเดือน

Social Share

เกษตรตำบลไทยหัวใจ 4.0 ทำน้อยได้มาก โชว์ผักคุณค่าเทียบเนื้อสัตว์สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 250,000 บาทต่อเดือน

อาชีพมีมากมายหลายหลากแต่มีอาชีพหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังของชาติหรือเกษตรกรตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบันคือ “นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร” หรือที่เกษตรกรจะรู้จักเรียกพวกเรา/เขา/ท่านว่า “เกษตรตำบล” แต่ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไรก็ตาม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร นั้นเป็นอาชีพและมีลักษณะการทำงาน เกี่ยวข้องกับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ประชาชนทั่วไปผู้นำท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่

ถือเป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญต่อการทางการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย ที่ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ องค์ความรู้ หรือแม้ประสบการณ์ ที่ตนได้เรียนหรือปฏิบัติจริงนำไปถ่ายทอดให้กับกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับประเทศชาติต่อไป

ดังตัวอย่างอย่างนายพงศ์ ทาหล้า หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม”น้องพงศ์” นักวิชาการหนุ่ม ด้วยวัย 33 ปี ที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถใช้วิชาที่เรียนมากับการลงมือปฏิบัติจริงผสานโยบายรัฐนำมาปรับใช้ในการส่งเสริมการเกษตร โดยเขาเริ่มขณะเป็นนักศึกษาจบใหม่ไฟแรง พร้อมกับโครงการเกษตรเมืองสีเขียว ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการที่อำเภอฮอด โดยเริ่มจากตนเองและครอบครัวเป็นอันดับแรกซึ่งเดิมเกษตรกรในชุมชนประกอบอาชีพปลูกพืชผักเชิงเดี่ยวบนดอยสูงพึ่งพาเคมีเป็นหลัก แต่กลับได้ผลผลิตที่ต่ำไม่ได้คุณภาพ ปัญหาโรคแมลงเยอะขึ้น ทำให้เกษตรกรหลายรายประสบภาวะขาดทุน

ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่สำนักงานเกษตรอำเภอฮอดจึงส่งเสริมให้เกษตรกรในชุมชนหันมาปลูกพืชผัก ในระบบการผลิต GAP คือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ซึ่งเป็นจุดเริ่มที่ทำให้น้องพงศ์ปรับเปลี่ยนการปลูกพืชผักให้หลากหลายภายใต้ระบบ GAP อีกทั้งวางแผนการผลิตที่สามารถเก็บผักได้ทุก 3 วัน ช่วงเริ่มแรกนั้นชุมชนหรือแม้แต่บุคคลใกล้ชิดยังไม่คิดว่าจะเป็นแนวทางที่ดี จากที่ปลูกพื้นที่ 50 ไร่ เหลือ10 ไร่และปลูกแต่ละชนิดอย่างละนิดอย่างละหน่อย

แต่ด้วยพากเพียร ความสำนึกรักบ้านเกิด ดำเนินตามศาสตร์พระราชาและอยากนำความรู้ที่อยู่ในตำราขยายผลสู่เกษตรกร จึงมุ่งนำวิธีการปฏิบัติดีๆที่ตนมีโอกาสมากกว่าบุคคลอื่นได้ไปเห็น ได้เรียนรู้ความแตกต่างการผลิตในระบบปลอดภัยทำให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืนจนกระทั่งสร้างแบรนด์สินค้า “ผักดอยok” กับผักจำนวนไม่น้อยกว่า 25 ชนิดบนพื้นที่ 10 ไร่ วางแผนการผลิตจะมีผักออกสู่ตลาดทุกๆ 3 วัน สามารถทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 250,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังลดต้นทุนโดยการเก็บเมล็ดพันธุ์เองของสลัด คะน้า ผักกาด คิดเป็นมูลค่าได้ปีละประมาณ 50,000-70,000 บาท

และเมื่อนายพงศ์ ทาหล้า สามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการ ในตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ก็นำความรู้ที่ได้จากปฏิบัติจริงที่ตนได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ส่งเสริมในพื้นที่โดยรวมกลุ่มการลดการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ขยายผลสู่กลุ่ม Smart Farmer,young Smart Farmer , กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลผู้ปลูกผักปลอดสารพิษจำนวนกว่า 30 ราย ส่งเสริมการผลิต และหาช่องทางจำหน่ายในตลาดเกษตรกร ตลาดคณะเกษตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กาดหลวงเซ็นทรัลเชียงใหม่แอร์พอร์ต, ตลาดนัดชุมชนเชียงใหม่อาหารปลอดภัย

ไม่เพียงเท่านี้ยังคัดเลือกผักดีมีประโยชน์บุกตลาดในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อสร้างโอกาสด้านการค้าการแข่งขัน ถึงเป็นผักแต่มีคุณประโยชน์คุณค่าเกือบเทียบเท่าเนื้อสัตว์,ธาตุเหล็กสูง, มีสาร Sulforaphane ต้านมะเร็ง, ชื่อว่าผัก “kale” ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีผักใบเขียว ซึ่งอยู่ในตระกูล คะน้า ไม่เพียงเท่านี้ยังเพิ่มระบบระบบมาตรฐานในโรงคัดบรรจุ GMP เพื่อความปลอดภัยตั้งแต่ สิ่งแวดล้อม แปลงเกษตรกร โรงคัดบรรจุ จนถึงสร้างความมั่นใจผู้บริโภคมีสุขภาวะที่ดีพร้อมความรับผิดชอบในอาชีพเกษตรพร้อมด้วยใจรักถือการทำการเกษตรเป็นอาชีพ เพื่อพัฒนาสังคมต่อไปอย่างยั่งยืน

เรื่องมาใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ สนับสนุนชาวสวนหอมหัวใหญ่ ทดลองไวรัส NPV กำจัดหนอนกระทู้หอม ทดแทนสารเคมี (มีคลิป)
เกษตรเชียงใหม่ ชวน “ชม ชิม ช็อป สตรอว์เบอร์รี่สะเมิง” พร้อมเตรียมเปิดเทศกาลสตรอว์เบอร์รี่ 6 – 8 ก.พ. นี้ (มีคลิป)
ดีแทคจับมือพันธมิตรรุกภาคเกษตร เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
ครอบครัวหัวใจเกษตร Smart Farmer ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(มีคลิป) นศ.ม.แม่โจ้ทิ้งปริญญาตรี หันมาร่วมกลุ่ม Young Smart Farmer ขายผ่านออนไลน์จนธุรกิจปัง สินค้าไม่พอส่งขาย
(มีคลิป) เชียงใหม่ เปิดงานเกษตรอินทรีย์ วิถีล้านนา อย่างยิ่งใหญ่ เอาใจคนรักพืชผักเกษตรอินทรีย์