วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

สุดยอดแนวคิดเปลี่ยนจาก “เมี่ยง” สู่ชาคุณภาพที่ปางมะโอ เชียงใหม่

Social Share

“ชา “หลายคนจะนึกถึงสวนชาอู่หลง และไร่ชาที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเชียงราย แต่วันนี้เราจะมาทำความรู้จักพื้นที่การผลิตชาแห่งหนึ่งที่อยู่ในโครงการสืบเนื่องมาจากพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพปลูกชาโครงการพระราชดำริฯ ตลอดจนการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาอัสสัม ในพื้นที่ หมู่ที่ 9 ปางมะโอ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร อยู่ที่ความสูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000-1,500 เมตร

แต่เดิมเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่บ้านปางมะโอประกอบอาชีพทำสวนเมี่ยง ” เมี่ยง”ซึ่งเป็นชื่อเรียกท้องถิ่นทางคนภาคเหนือ ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อต้นชาอัสสัมเป็นไม้ยืนต้น ใช้ส่วนของใบ มาประกอบอาหารเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับคนภาคเหนือซึ่งเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมการบริโภค ที่นำใบไปนึ่งรับประทานกับเกลือคล้ายหมาก หรือแม้กระทั่งปรุงอาหาร อาทิเช่นยำใบเมี่ยง น้ำเมี่ยง ยาเมี่ยง เป็นต้น

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะได้เดินทางไปร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับพื้นที่ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่โครงการความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการปลูกชา ในพื้นที่โครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ แท้จริงแล้วนั้น สวนเมี่ยงที่กล่าวถึงก็คือการทำสวนชาอัสสัม ที่เกษตรกรในชุมชนผลิตกันอยู่แล้วแต่เป็นการผลิตแบบดั้งเดิมโดยไม่มีการตัดแต่งกิ่ง หรือการแปรรูปหรือแม้กระทั่งการดูแลที่ถูกต้อง

จนในปีพ.ศ. 2553 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ มีโอกาสสนองงานตามแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพปลูกชาตามพระราชดำริ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ บ้านปางมะโอ ต.เมืองนะ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมทั้งหมดประมาณ 1,700 ไร่ เกษตรกรกว่า60 ครัวเรือน โดนมีลักษณะการส่งเสริมการปลูกชาแบบวนเกษตร( Agro-foresty) เพราะชาอัสสัม หรือชาเมี่ยง สามารถเจริญอยู่ได้ใต้ร่มเงาไม้ป่า

อาศัยความชุ่มชื้นในระบบนิเวศน์ธรรมชาติ ใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง ที่เหมาะกับการอนุรักษ์ดินและน้ำ ตามวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่อาศัยป่า กว่า 9,100ไร่ในการดำรงค์ชีวิต โดยรูปแบบการผลิตไม่รบกวนระบบนิเวศ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ มีระเบียบข้อบังคับกลุ่มที่ชัดเจน

ส่วนในการเก็บชาเมี่ยงของเกษตรกรพื้นที่บ้านปางมะโอนั้นนายวิทวัส จิโน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้ข้อมูลว่าจะเริ่มเก็บชาตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนธัวาคมเฉลี่ยเดือนละ6,000กิโลกรัม โดยการจำหน่าย นั้นเกษตรกร จะจำหน่ายเป็นเมี่ยงสด ราคากิโลกรัมละ20-30บาทต่อกิโลกรัม และแปรรูปเป็นชาเมี่ยงจำหน่ายกิโลกรัมละ 150 บาทขึ้นสร้างมูลค่าให้กับชุมชนปีละล้านกว่าบาท

 

ทำให้ชุมชนและคนในชุมชนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดความมั่นคงด้านอาชีพสามารถพึ่งตนเองได้บนพื้นฐานความพอเพียง รักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งทางภาครัฐและเอกชน นำไปสู่การพัฒนาของชุมชน….ที่เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบของคนต้นน้ำสู่คนปล่ายน้ำโดยวิถีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่าการเกษตรทียั่งยืน(sustainable Agriculture)คือผู้บริโภคยั่งยืน ผู้ผลิตยังยืนและสิ่งแวดล้อมยั่งยืนต่อไป


เครดิตภาพจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่

เรื่องมาใหม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ดีแทคจับมือพันธมิตรรุกภาคเกษตร เปิดตัวบริการ “ฟาร์มแม่นยำ” ช่วยเกษตรกรเพาะปลูกอย่างแม่นยำ
ครอบครัวหัวใจเกษตร Smart Farmer ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(มีคลิป) นศ.ม.แม่โจ้ทิ้งปริญญาตรี หันมาร่วมกลุ่ม Young Smart Farmer ขายผ่านออนไลน์จนธุรกิจปัง สินค้าไม่พอส่งขาย
(มีคลิป) เชียงใหม่ เปิดงานเกษตรอินทรีย์ วิถีล้านนา อย่างยิ่งใหญ่ เอาใจคนรักพืชผักเกษตรอินทรีย์
เกษตรกรอมก๋อยถึงมีพื้นที่มากแต่ปฏิเสธพืชเชิงเดี่ยว ขอปลูกพืชแซมผสมผสานเก็บเงินแสน เงินล้านดีกว่า
เกษตรแนวใหม่ เลิกยกแปลง เลิกใช้สารเคมี เลือกปลูกโดยวัสดุปลูก ดำรงค์ชีวิตด้วย 3 ธรรมและทำ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน