วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

รพ.ค่ายกาวิละ เชียงใหม่ ก้าวสู่ยุค 4.0 ตรวจรักษาแบบออนไลน์ เข้าใช้งานผ่าน QR code ได้ ลดทั้งเวลาและงบประมาณสำเร็จ

16 ก.พ. 2018
4745
Social Share

โรงพยาบาลค่ายกาวิละ เชียงใหม่ ก้าวสู่ยุค 4.0 ตรวจรักษาแบบออนไลน์ สามารถเข้าใช้งานผ่าน QR code ได้ ทำให้ลดทั้งเวลาและงบประมาณสำเร็จ

พ.อ.เสริมพงษ์ จารุเลิศวุฒิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายกาวิละ กล่าวว่า โรงพยาบาลค่ายกาวิละมีภารกิจให้การรักษาดูแลสุขภาพประจำปีแก่ทหารและทหารกองประจำการ สิ่งที่เราพบว่าเป็นปัญหาในการบริหารจัดการคือ การกรอกข้อมูลของคนไข้ การกรอกแบบสอบถาม การตรวจวัดสัญญาณชีพ การตรวจ BMI ซึ่งเราพบว่า การกรอกข้อมูลจะต้องเขียนลงในกระดาษแล้วคัดลอกข้อมูลลงในโปรแกรม เพื่อนำมาวิเคราะห์ผล ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร และเวลาในการประมวลผลนาน ตลอดจนเกิดความผิดพลาดในการประมวลผลสูง เนื่องจากการคัดลอกผล

ในยุคปัจจุบันกำลังพลสามารถใช้ Smart Phone เป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดการนำเอกสารทุกอย่างให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล กำลังพลสามารถใช้งานและเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน และตอบสนองการปฏิบัติราชการในยุค 4.0

โรงพยาบาลค่ายกาวิละ ได้เริ่มใช้นวัตกรรมการคัดกรอง การรายงานผล และการเก็บข้อมูล การตรวจร่างกายประจำปีออนไลน์ เมื่อปี 2560 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถลดระยะเวลาในการกรอกข้อมูล จากเดิมกำลังพลต้องมาคัดกรองที่โรงพยาบาล ซึงการคัดกรองมีการกรอกเอกสารเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการใช้เวลานาน ปัจจุบัน ให้กำลังพลคัดกรองมาก่อนที่จะมาตรวจสุขภาพทำให้ไม่สุญเสียเวลาในการคัดกรอง สามารถลดลงได้ คนล่ะ 15 นาที และลดระยะเวลาในการบันทึกข้อมูล

จากเดิมหลังจากที่กำลังพล คัดกรองสุขภาพแล้ว เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องนำข้อมูลมาบันทึกเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ทำให้เกิดการใช้กำลังพลและเวลาในการบันทึก ปัจจุบัน ไม่มีการบันทึกด้วยเจ้าหน้าที่ สามารถลด การใช้บุคลากร 2 นาย เวลา 10 นาที ต่อ 1 เอกสาร ลดระยะเวลาในการรายงานผล จากเดิม การรายงานผลจะมีการรายงานหลายรูปแบบ เช่น ผลส่วนบุคคลพร้อมซองใส่ผล ผลประจำหน่วย ทำให้เกิดการพิมพ์เอกสาร เป็นจำนวนมากทำให้เกิดการใช้เวลาในการพิมพ์

ปัจจุบัน การรายงานผลก็ผ่านระบบโปรแกรม ทำให้ลดเวลาในการพิมพ์ การใส่ซองเอกสารส่งให้ผู้ป่วย ได้ 3 นาที ต่อ 1 ผลการตรวจ และการรายงานผลให้กำลังพลรายบุคคล จาก 15 วัน เป็น 7 วัน ทำการ

นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าวยังสามารถลดงบประมาณในการพิมพ์เอกสาร ใบคัดกรอง ผลการตรวจ ซองเอกสารการรายงาน เพิ่มช่องทางการรับข้อมูลสุขภาพของกำลังพล ที่ไม่สามารถมารับบริการที่โรงพยาบาลได้ (ราชการสนาม, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้) ซึ่งกำลังพลสามารถกรอกข้อมูลสุขภาพมาทางระบบอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้โรงพยาบาลได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ทำให้เกิดการดูแลกำลังพลได้อย่างทั่วถึง

ที่สำคัญเป็นการเพิ่มช่องทาง ที่กำลังพลสามารถ ดูผลการตรวจได้ตลอดเวลาผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์ และมีการเปรียบเทียบผลของแต่ละปี สามารถดูความเปลี่ยนแปลงได้เพื่อให้เกิดการดูแลรักษาสุขภาพของกำลังพลให้แข็งแรงอยู่เสมอหรือถ้าพบว่าป่วย ก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที

ด้านนายเพลิงพายุ อุปนันท์ โปรแกรมเมอร์ ทีมสารสนเทศ โรงพยาบาลค่ายกาวิละ กล่าวว่า ทีมสารสนเทศได้พัฒนาซอฟต์แวร์ ขึ้นมาบน webpage โดยเทคโนโลยี Smart Phone ให้ผู้ป่วยเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น โดยใช้ Username และPassword ในการเข้าดูข้อมูลต่างๆ เช่น ผลตรวจ ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ โดยผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลผ่านทางมือถือจากที่บ้าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ออกมาจากตัวผู้ป่วยเอง จึงมักจะไม่เกิดความผิดพลาด

ส่วนการรายงานผลทางโรงพยาบาลจะรายงานได้ไม่เกิน 7 วัน ซึ่งสามารถดูผลการตรวจได้ตลอด 24 ชั้วโมง นอกจากนี้ยังสามารถเปรียบเทียบผลการตรวจสุขภาพย้อนหลังได้ 5 ปี เพื่อใช้ในการวิเคราะห์กำลังพลให้สามารถมีสุขภาพที่ดีขึ้น การใช้โปรแกรมดังกล่าวสามารถตอบสนองปัญหาที่ทางฝ่ายการแพทย์พบในการดูแลผู้ป่วยได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้จากการประเมินจากผู้เข้ารับการบริการในปี 2560 พบว่ามีความพอใจมาก ถึง มากที่สุด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายกาวิละ กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลค่ายกาวิละเป็นหน่วยขึ้นตรงของมณฑลทหารบกที่ 33 ที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลได้มีการปรับโครงสร้าง อาคาร สถานที่ ให้เป็นลักษณะ healing and varoment ( การรักษาและการเปลี่ยนแปลง ) โดยปรับปรุงการให้บริการผู้ป่วยและปลูกฝังวัฒนธรรมการให้บริการของบุคลากรทุกระดับ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังจัดทำระบบให้การบริการโดยใช้หลักการของ ลีน เพื่อลดการปฏิบัติงานราชการทำให้เราสามารถลดระยะเวลาการรอคอย จาก 120 นาที เหลือ 45 นาที ส่วนเรื่องการรับรองมาตรฐานของทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ได้ผ่านมาตรฐาน HA

ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่มาตรฐาน ISO ของห้องปฏิบัติการต่อไป ปัจจุบันโรงพยาบาลค่ายกาวิละมีจำนวนเตียง 60 เตียง สามารถรองรับ VISIT MEMBER ได้ 300 ครั้งต่อวัน ทั้งกำลังพลทหารและประชาชน 50/50 จุดเด่นของโรงพยาบาลจะให้บริการผู้ป่วยนอกและเวชกรรมป้องกันคือภารกิจของแพทย์ทหารไม่ได้รักษาพยาบาลอย่างเดียว เรามีการส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟู ซึ่งภารกิจนี้เป็นนโยบายของกองทัพบก อย่างไรก็ตามเป็นทหารต้องให้บริการประชาชนซึ่งแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับพยายามทุ่มเทในการให้การบริการประชาชนอย่างเต็มที่