วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

มาดูกัน!! มีอะไรใหม่ใน dtac accelerate batch 7

20 ก.พ. 2019
1255
Social Share

มีอะไรใหม่ใน dtac accelerate batch 7

• มีเมนเทอร์ใหม่ใน Batch 7 นี้ 2 ท่านคือคุณเจษฎา สุขทิศ CEO และผู้ก่อตั้ง Finnomena (dtac acceletate Batch 4) ซึ่ง ณ ขณะนี้ Finnomena ได้มีส่วนช่วยบริหารการลงทุนให้กับผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มด้วยมูลค่า 6,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ คุณเจษฎา มีประสบการณ์เป็นรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนจากธนาคารชั้นนำมาก่อน และท่านที่สองคือคุณณธิดา รัฐธนาวุฒิผู้ก่อตั้ง Marketing Oops เว็บไซต์การตลาดชั้นนำ คุณณธิดา มีประสบการณ์ทางด้าน การตลาดดิจิทัล กลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ มาร่วม 18 ปี รวมถึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจสตาร์ตอัพมากมาย

• ไฮไลท์กูรูสตาร์ตอัพในด้านต่างๆ คือ Nir Eyal ที่จะมาสอนเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ Jacob Greenspan สอนเรื่องการออกแบบ UI/UX และ Scott Bales สอนเรื่อง Customer Validation
• พันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีการเงิน (Official Finance Technology Partner) : KBTG
• พันธมิตรผู้สนับสนุนรางวัล (Award Sponsors) : เมืองไทยประกันชีวิต (Muang Thai Life Assurance)
สิริ เวนเจอร์ (Siri Ventures) ปตท. (PTT) และ Line
• ผู้สนับสนุนรางวัลขวัญใจมหาชน (Popular Vote Award Sponsor) : WeWork / WeWork Labs
• พันธมิตรด้านเทคโนโลยี (Technology Partners)
Tier 1 : Amazon Web Services, Google Cloud, Facebook Start, Line ScaleUp
Tier 2 : HubSpot, Appsflyer, Digital Ocean, Cloudee, Knowlarity

 

• หลักสูตร A Academy สำหรับสตาร์ตอัพ Series A จะประกอบไปด้วย
1) การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ Series A: ดีแทค แอคเซอเลอเรทได้เชิญ VC ชั้นนำของเอเชียเพื่อมาเป็นเมนเทอร์ให้กับโครงการนี้ โดยจะเป็นรูปแบบการให้ความรู้แบบตัวต่อตัวภายใต้เนื้อหาเกี่ยวกับการระดมทุน การจัดรูปแบบทางการเงิน และเทคนิคการระดมทุน
2) การฝึกอบรมทักษะการบริหารจัดการจาก Google: เราได้รับความร่วมมือจากโครงการ Google Launchpad Accelerator จัดอบรม “Leaders Lab” โดยการอบรมนี้จัดขึ้นสำหรับ CEO และ CTO เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านแนวคิดเพื่อการจัดการองค์กร การจัดการโครงสร้างในองค์กร การบริหารบุคลากรในองค์กร และอื่นๆ อีกมากมาย โดยการฝึกอบรมนี้จะถูกจัดขึ้นที่สำนักงานของ Google ประจำประเทศสิงคโปร์
3) การฝึกอบรมการจัดการ B2B และ B2C จาก 500 Startups
4) การช่วยเหลือทางด้านขยายตลาด: โครงการนี้จะเป็นตัวช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะขยายธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น

• กำหนดการรับสมัครและกิจกรรมต่างๆ ของ ดีแทค แอคเซอเลอเรท ปี 7
เปิดรับสมัครสตาร์ตอัพที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันนี้ถึง 16 เมษายน 2562
โรดโชว์ไปแนะนำโครงการ ที่กรุงเทพ ในวันที่ 13 มีนาคม ขอนแก่นวันที่ 19 มีนาคม ภูเก็ตวันที่ 21 มีนาคม และเชียงใหม่ วันที่ 27 มีนาคม 2562
เปิดให้ประลองไอเดียพิชคลินิก ในสไตล์ไวกิ้ง ณ สำนักงาน LINE ประเทศไทยในวันที่ 30 มีนาคม
นำเสนอผลงานพิชเดย์ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562
บูทแคมป์ในวันที่ 22 พฤษภาคม – 6 กันยายน 2562
เดโมเดย์ 6 กันยายน 2562

สามารถส่งใบสมัครทางออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึง 16 เมษายน 2562 ผ่านทาง https://accelerate.dtac.co.th/en/home

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://accelerate.dtac.co.th/en/home หรือ Facebook https://www.facebook.com/dtacAccelerate/

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสตาร์ตอัพ และรูปแบบการหาเงินลงทุนของสตาร์ตอัพ
ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์ตอัพจะหาเงินทุน เพื่อมาสร้างธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยแบ่งหุ้นให้กับผู้ที่มาลงทุนในธุรกิจ ผู้ที่มาลงทุนในสตาร์ตอัพ จะเป็นบริษัทร่วมลงทุน VC (Venture Capital) หรือนักลงทุนอิสระ (Angel Investor) หรือ CVC (Corporate Venture Capital) ผู้ลงทุนเหล่านี้จะคาดหวังผลตอบแทนสูงมากๆ

ประเภทนักลงทุนในสตาร์ตอัพ
Angel Investor คือ นักลงทุนอิสระที่มาลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับสตาร์ตอัพในระยะเริ่มต้น เรียกว่าเป็นการ Seed เงินลงทุนให้สตาร์ตอัพ ด้วยเงินทุนของนักลงทุนเอง ซึ่งคำว่า Angel เพื่อจะบอกว่า นักลงทุนประเภทนี้ เป็น เทพบุตร เทพธิดาของสตาร์ตอัพ

 

Venture Capital : VC คือ ธุรกิจการร่วมลงทุน เป็นการนำเงินลงทุนเข้าไปร่วมถือหุ้นในบริษัท เปรียบเสมือนการอยากจะเปิดบริษัทใดบริษัทหนึ่งแต่เงินทุนไม่เพียงพอ จึงต้องการระดมทุน จากเพื่อน ญาติพี่น้อง หรือ นักลงทุนท่านอื่น ซึ่งเจ้าของเงินทุนเหล่านี้จะได้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทด้วย และเมื่อถึงเวลาที่บริษัทมีกำไรก็จะทำการแบ่งตามสัดส่วนของการถือหุ้น Venture Capital เป็น Private Equity Capital (การลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์)ประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการลงทุนในกิจการที่เกิดใหม่และอยู่ในช่วงของการเติบโต (และอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์) โดยทั่วไปนั้น การลงทุนจะอยู่ในรูปแบบของการซื้อหุ้นของกิจการดังกล่าวด้วยเงินสด

ดังนั้น การลงทุนในลักษณะที่เป็น Venture Capital จึงมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง VC เช่น 500 Tuktuks , K2 Venture Capital, Cyber Agent Venture, Kejora, Expara, Monk’s Hill, Galaxy Ventures, Wave Maker, Golden Gate Ventures, KK Funds

Corporate Venture Capital : CVC คือ การลงทุนของบริษัทใหญ่ ในสตาร์ทอัพ ถ้าเป็นระยะเริ่มต้นคือการลงทุนที่มากกว่าเรื่องทางการเงิน หากแต่เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ เครือข่ายที่กว้างขวาง ลูกค้าที่มีศักยภาพในตลาด รวมไปถึงเรื่องของบุคลากร การลงทุนแบบ CVC ช่วยสตาร์ทอัพในหลากหลายมิติ และตอบโจทย์วัตถุประสงค์ที่มากกว่าการลงทุนแบบ VC ทั่วๆไป

ตัวอย่างของ CVC ในประเทศไทย เช่น Digital Ventures ของธนาคารไทยพาณิชย์/ Beacon Venture Capital ของธนาคารกสิกรไทย ที่ถือได้ว่าเป็น VC ในด้าน FinTech ของไทย / AddVentures ของ SCG จากธุรกิจวัสดุก่อสร้าง / ExpresSo ของ ปตท จากธุรกิจพลังงาน / Singha Ventures ของ บุญรอด (สิงห์) จากธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค / SiriVentures ของ แสนสิริ จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ระดับในการระดมทุนของสตาร์ตอัพ
การระดมทุนในระดับ Pre-seed
ในช่วงเวลาเริ่มต้นที่สตาร์ทอัพกำลังนำเอาไอเดียที่ดีเข้าแก้ปัญหา และกำลังทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อทำสินค้าต้นแบบออกมา สามารถนำเสนอแผนและสินค้าให้กับผู้ลงทุนในกลุ่มของ Angel Invester และ crowdfunding ได้ โดยมูลค่าของการระดมทุนจะอยู่ในช่วง 20,000 – 50,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยก็อยู่ที่ 600,000 – 1.5 ล้านบาท

การระดมทุน Seed Funding หรือ Pre-Series A
สตาร์ตอัพที่จะระดมทุนในช่วงเวลานี้ก็คือ มีผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ทดลองใช้กันแล้ว สตาร์ตอัพต้องการระดมเงินทุนเข้ามาเพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อ โดยกลุ่มผู้ที่จะลงทุนในระดับนี้คือ Angel Investor และ VC มูลค่าของเงินทุนจะอยู่ที่ 100,000 – 3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 3 – 100 ล้านบาท

การระดมทุนระดับ Series A
สตาร์ทอัพที่อยากจะระดมทุนในระดับ Series A จะต้องเป็นธุรกิจที่มี Business Model ที่ชัดเจนมาก ๆ และ สินค้าและบริการก็จะต้องผ่านการพัฒนาในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายมาเรียบร้อย พร้อมจะทำการพัฒนาในเรื่องของตลาด โดยกลุ่มของผู้ลงทุนในระดับ VC และ CVC มูลค่าการลงทุนจะอยู่ในช่วง 1 – 15 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นเงินบาทก็อยู่ที่ 33 – 495 ล้านบาท

การระดมทุนระดับของ Series B และ C
สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในระดับภูมิภาคไปแล้ว ต้องการขยายบริษัทและฐานการเติบโตไปสู่ลูกค้าในระดับโลกก็ต้องระดมทุนในระดับ Series B และ C ตามแต่ความใหญ่ของธุรกิจ เงินทุนจะมาจาก VC ขนาดใหญ่ และ CVC โดยมีมูลค่าการลงทุนในระดับ 2 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป หรือประมาณ 66 ล้านบาท การระดมทุนเป็นการทำให้บรรดาสตาร์ทอัพได้ทำในสิ่งที่ฝัน

เป้าหมายสูงสุดของสตาร์ทอัพ
คือการได้ Exit ซึ่งการ Exit ของสตาร์ทอัพจะมีอยู่ 2 แบบคือแบบแรกมีคนอื่นมาซื้อกิจการ และแบบที่สองเป็นการนำธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ

ข้อมูลอ้างอิง :
สตาร์ตอัพ 101: การหาแหล่งเงินทุนหรือ FUNDING มีกี่ระดับ? https://www.smartsme.co.th/content/74798
เปิดโลกการลงทุนใน Startup https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/open-startup-investment.html
สตาร์ตอัพแตกต่างจาก SME อย่างไร https://bingobook.co/business/startup/
CVC การลงทุนในสตาร์ทอัพขององค์กรใหญ่ ความท้าทายที่ต้องกล้าเสี่ยงในยุค Digital Transformation https://brandinside.asia/cvc-digital-ventures-investment/
VENTURE CAPITAL ที่ใหญ่สุดในประเทศไทย http://longtunman.com/6931
Techsauce’s guide to the top Corporate VCs, VC and Accelerators in Thailand https://techsauce.co/en/tech-and-biz/techsauces-guide-top-corporate-vcs-vcs-accelerators-thailand/