วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

เทศบาลคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เข้าพบผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เรื่องจัดการขยะมูลฝอยในเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เชียงใหม่ Eco-Town

Social Share

คณะเทศบาลคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรายงานผลการดําเนินงานโครงการศึกษาฯ “การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดเชียงใหม่ แบบครบวงจร มุ่งสู่เชียงใหม่ Eco-Town” พร้อมลงพื้นที่ปฏิบัติงานในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนอย่างจริงจังต่อไป

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00 น. Mr.Junichi Sono Director, City of Kitakyushu พร้อมคณะจากเทศบาลคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เข้าพบนายปวิณ ชํานิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรายงานผลการดําเนินงานโครงการศึกษาฯ “การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัดเชียงใหม่ แบบครบวงจร มุ่งสู่เชียงใหม่ Eco-Town” ที่ ห้องประชุมที่ทำการปกครอง ชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่

เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้เกิดปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปี 2559 มีปริมาณขยะในจังหวัดเชียงใหม่มากถึง 6 แสนตัน ซึ่งขยะถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีการฟังกลบและการเผา อีกทั้งยังมีขยะตกค้าง ประมาณ 4 หมื่นตันต่อปี จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ร่วมมือกับเทศบาลเมืองคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ที่มีประสบการณ์ องค์ความรู้เทคโนโลยี และประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

เพื่อนำมาเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการขยะของจังหวัดเชียงใหม่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ด้านเทศบาลคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น หวังว่าจะขับเคลื่อนการจัดการขยะของจังหวัดเชียงใหม่ในทางปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือเป็น Best Practice สำหรับการขยายผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งขยะมูลฝอยสามารถนำไปแปรรูปได้ เช่น ปุ๋ย เชื้อเพลิง และพลังงานทดแทน พร้อมกับเป็นการสร้างรายได้ ปกป้องสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษดังกล่าว ขณะเดียวกันขยะเหล่านั้นถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย

อย่างไรก็ดีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปี 2018 นี้ จังหวัดเชียงใหม่ขอให้ขยายการปฏิบัติงานลงไปสู่ระดับชุมชนและระดับครัวเรือนอย่างจริงจัง เพื่อเป็นตัวอย่างความสำเสร็จและวัดผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการโครงการศึกษาฯ จากนั้น ได้เน้นย้ำเรื่องเลือกท้องถิ่นควรมีความชัดเจน ซึ่งท้องถิ่นที่เข้ามาร่วมต้องรู้การปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและสามารถทำได้จริง หลังจากเลือกท้องถิ่นได้แล้วควรจัดทำ Action Plan ทั้งเชิงระบบและเชิงปฏิบัติ โดยเฉพาะการถ่ายทอดเพื่อเชื่อมโยงระดับครัวเรือนและระดับชุมชนต่อไปในอนาคต

เรื่องมาใหม่