วันพฤหัสบดี, 25 เมษายน 2567

รู้หรือยัง!! เชียงใหม่มีจักรยานอัจฉริยะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์และแทปเลตได้ และให้ใช้ฟรีรอบเมืองเชียงใหม่ด้วย

18 ม.ค. 2018
4319
Social Share

โมไบค์ ยักษ์ใหญ่แห่งจักรยานอัจฉริยะจับมือ AIS นำสุดยอดเทคโนโลยี IoT สานฝันให้เชียงใหม่ได้ใช้จักรยานผ่านมือถือเป็นแห่งแรก

ช่วงเช้าวันนี้ (18 ม.ค. 61) นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดประธานเปิดงาน “MOBIKE IN เจียงใหม่” ที่บริเวณลานด้านหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยมี Mark Lin หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงานระหว่างประเทศของ โมไบค์ (Mobike) บริษัทผู้ให้บริการจักรยานสาธารณะอัจฉริยะ นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส

ร่วมกับสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเชียงใหม่ รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และผู้บริหารเครือข่ายโทรศัพท์เอไอเอส เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมนำจักรยานอัจฉริยะกว่า 500 คันมาให้ชาวเชียงใหม่ได้ใช้งานผ่านระบบ IoT ของ AIS ในเครือข่าย 3G/4G มั่นใจจะเป็นจุดแข็งด้านการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ โดยเฉพาะการเป็นเมืองที่น่าปั่นจักรยานท่องเที่ยวที่สุดอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

ด้าน นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2560 จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะ(Smart City) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการขับเคลื่อนจากรัฐบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการสุขภาพ เชื่อมโยงสู่เมืองท่องเที่ยวนั้นกำลังไปได้ด้วยดี เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับ โมไบค์ มายังเชียงใหม่ในฐานะผู้ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ของเราในครั้งนี้ จักรยานสาธารณะอัจฉริยะจะช่วยเชื่อมโยงคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวไปกับวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนเรา และเรารู้สึกยินดีที่ได้มีระบบขนส่งเช่นนี้ในจังหวัดเชียงใหม่

Mark Lin หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติงานระหว่างประเทศของ โมไบค์ กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่เมื่อที่มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์อย่างเชียงใหม่กลายเป็นเมืองที่สองในประเทศไทยที่เราได้ให้บริการ ขณะที่ประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความนิยมด้านการท่องเที่ยวและมีความต้องการขนส่งทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งบริการจักรยานสาธารณะอัจฉริยะ( bikeshare ) ของ Mobike ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มาตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทำงานอย่างใกล้ชิดกับท้องถิ่น

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือคนในพื้นที่ การปั่นจักรยานเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการท่องเที่ยวตามสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒธรรมต่างๆ อีกทั้งยังสามารถใช้ในชีวิตประจำวันของคุณได้อีกด้วย”

ธุรกิจของ โมไบค์ สร้างขึ้นจากการให้บริการขนส่งที่สะดวกและยั่งยืนสำหรับคนทั่วโลก โดยปัจจุบันบริษัท โมไบค์ มีจักรยานสาธารณะ อัจฉริยะทั้งหมดกว่า 8 ล้านคันซึ่งมี GPS และเทคโนโลยีสมาร์ทล็อค ลงทะเบียนเชื่อมต่อผ่านแพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) ที่รองรับการใช้งานบนมือถือมากที่สุดในโลก โดยมีผู้ลงทะเบียนใช้งานกว่า 200 ล้านคนและมีจำนวนการปั่นมากกว่า 30 ล้านทริปต่อวันทั่วโลก

เพื่อให้สอดคล้องกับความคิดริเริ่มกับโครงการ NMT ของจังหวัดเชียงใหม่นั้นโมไบค์ ได้ติดตั้งจักรยานสาธารณะ อัจฉริยะ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและชาวเมืองได้มีการเดินทางที่สะดวกสบายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทยังมีแผนที่จะขยายการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่มากขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ

นายพรรัตน์ เจนจรัสสกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานปฏิบัติภูมิภาค-ภาคเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “จากแนวคิด Digital for Thais ของเราที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา Digital Infrastructure อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เครือข่าย Mobile/Fibre/Super Wifi และล่าสุดกับ NB IoT ซึ่งรองรับโลกอนาคตที่มาถึงเราแล้ววันนี้ผ่านเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ, การใช้ชีวิตคนไทย, การพัฒนาอุตสาหกรรมทุกแขนง, การบริหารจัดการองค์กร, ฯลฯ

ดังนั้นปีที่ผ่านมาเราจึงเป็นรายแรกที่พัฒนาเครือข่าย NB-IoT ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งาน IoT ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และได้ร่วมกับ Mobike เปิดบริการ Bike sharing ที่กรุงเทพ สำหรับการขยายพื้นที่ให้บริการ Mobike ในวันนี้เท่ากับแสดงว่า เครือข่าย AIS NB-IoT ได้เริ่มขยายมาถึงส่วนภูมิภาค เริ่มต้นที่เชียงใหม่แล้ว เพื่อเตรียมรองรับบริการใหม่ๆจาก IoT ที่จะยกระดับการใช้ชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวของชาวเชียงใหม่ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจากวันนี้เป็นต้นไป”

โดย MOBIKE จักรยานสาธารณะอัจฉริยะ มีความโดดเด่นทั้งในด้านรูปทรง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่นำมาใช้ แต่มีอะไรบ้างมาดูกัน

เบาะนั่ง ที่ใช้ระบบไฮดรอริค สามารถปรับระดับได้ตามความสูงของผู้ใช้อย่างเหมาะสม

เฟรมจักรยานและตะเกียบหน้า โครงส้างอลูมิเนียมอัลลอยด์ น้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้งต่างๆ

ระบบล็อคความปลอดภัย ตัวล็อคอัจฉริยะที่ได้ติดตั้งซ้มการ์ดและรหัสพิเศษภายใน เชื่อมต่อผ่านระบบ Cloud บนเครือข่าย 3G/4G สามารถระบุตำแหน่งของจักรยานได้แบบ real time ด้วยข้อมูล GPS ตลอดจนรายงานสถานะของจักรยานคันนั้นๆ

มอเตอร์ ถูกปรับเปลี่ยนให้มีน้ำหนักเบา เพื่อลดแรงเสียดทาน สามารถควบคุมเบรคและทิศทางได้ง่าย และขับขี่ได้อย่างปลอดภัย โดยการปั่นมอเตอร์จะเปลี่ยนมาเป็นพลังงานให้กับตัวจักรยานด้วย และแผ่นบังโคลน ผลิตจากวัสดุ ABS + PC ผ่านการทดสอบด้านความร้อนและสารเคมี รวมทั้งคงสภาพรูปร่างได้อย่างดีเยี่ยม

ตะกร้าวางสัมภาระ ทำจากวัสดุอลูมิเนียมอัลลอยด์ ทนทานและเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับแฮนด์จับ ดีไซน์ช่องตารางเพื่อให้เหมาะสมกับการวางสัมภาระ

ล้อรถจักรยาน มีการออกแบบดีไซน์วงล้อแบบห้าแฉก เอกลักษณ์เฉพาะของ Mobike วัสดุทำจากแมกนีเซียมอัลลอยด์ แข็งแรงทนทาน พร้อมใช้งานทุกสถานการณ์

จานเบรค ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการควบคุมที่ง่ายดาย แข็งแรง และปลอดภัย

รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัย ที่ติดตั้งซิมการ์ดและรหัสพิเศษภายใน เชื่อมต่อผ่านระบบ Cloud บนเครือข่าย 3G/4G สามารถระบุตำแหน่งของจักรยานได้แบบ real time ด้วยข้อมูล GPS ตลอดจนรายงานสถานะของจักรยานคันนั้นๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้และความสะดวกของผู้ดูแลรักษา

ทั้งนี้ MOBIKE จักรยานสาธารณะอัจฉริยะ ได้จัดให้บริการจำนวน 500 คัน ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ได้แก่ บริเวณลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ สวนสาธารณะหนองบวกหาด และลานประตูท่าแพ ส่วนวิธีการยืมรถจักรยานอัจฉริยะ โมไบค์ (Mobike) ไปใช้งาน ก็แสนจะง่ายดาย เพียงแค่ทำตามทั้งหมด 4 ขั้นตอนดังนี้ คือ 1.ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น จาก App Store หรือ Google Play store 2.ลงทะเบียนด้วยหมายเลขโทรศัพท์และเลือกช่องทางการชำระเงินที่สะดวก

 

3.ค้นหาจักรยานหรือทำการจองล่วงหน้า เมื่อเจอจักรยานหรืออยู่บริเวณจุดที่มีจักรยานจอดอยู่ ก็ทำขั้นตอนที่ 4. ทำการสแกน QR code เพื่อปลดล็อคจักรยาน ก็จะสามารถใช้งานได้ เมื่อเสร็จสิ้นการใช้งานให้จอดจักรยานไว้ในจุดจอดสาธารณะ และเลื่อนตัวล็อคลงมาเพื่อสิ้นสุดการเดินทาง